ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย แนวทางการดำเนินการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรในกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลของจังหวัดสงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ Guideline of Corporate Social Responsibility in Seafood Processing Industrial Sector, Songkhla Province.

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการนางสาว อริศรา ไชยมะโณ

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย งบวิจัยคณะ (เงินบำรุงการศึกษา)
สาขาการวิจัย สาขาสังคมวิทยา
ปีงบประมาณ 2556
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 1 ปี
งบประมาณ ไม่ระบุ
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ -
สถานะของผู้ประสานงาน -
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ ความรับผิดชอบต่อสังคม, อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล, จังหวัดสงขลา
บทคัดย่อ           การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา 1)เพื่อศึกษากระบวนการในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรในจังหวัดสงขลา 2)ศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรในจังหวัดสงขลา 3)และเสนอแนวทางในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรในจังหวัดสงขลา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาค้นคว้าเอกสาร หนังสือ บทความ วิทยานิพนธ์ และวิจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง ใช้เครื่องมือวิจัยเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อศึกษาการดำเนินกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ได้ทำการศึกษาทั้งหมด 3 องค์กร ได้แก่ สงขลาแคนนิ่ง จำกัด(มหาชน) บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด(มหาชน) และบริษัทแปซิฟิกแปรรูป สัตว์น้ำ จำกัด ซึ่งทั้ง 3 องค์กร มีที่ตั้งในจังหวัดสงขลา
          ผลการศึกษาพบว่า มุมมองด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของทั้ง 3 องค์กรมีลักษณะคล้ายคลึงกัน เป็นมุมมองการดำเนินงานที่คำนึง พนักงาน ชุมชน และสังคม ที่องค์กรตั้งอยู่ โดยมีการกำหนดนโยบายและหลักเกณฑ์ไว้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน ในส่วนนโยบาย แนวทาง โครงการ และกิจกรรมในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมพบว่าทั้ง 3 องค์กร ได้มีการวางนโยบายในการดำเนินงานเป็นประจำทุกปี ซึ่งในการวางนโยบายนั้นจะวางแผนนั้นจะต้องสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และมีการดำเนินกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมที่คล้ายคลึงกัน ทั้งในด้านกิจกรรมเพื่อสังคม และกิจกรรมภายใน และมีการดำเนินกิจกรรมโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงอีกด้วย จึงทำให้ทุกๆกิจกรรมของทั้ง 3 องค์กร ได้รับผลตอบรับที่ดีมาก ทั้งภายในและภายนอก โดยวัดได้จากความสนใจและการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีการตอบรับและเต็มใจที่จะให้ความร่วมมือ ซึ่งปัจจัยที่จำทำให้ประสบความสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมทางด้านความรับผิดชอบต่อสังคมนั้น คือ เริ่มต้นองค์กรจะต้องมีผู้บริหารที่ตระหนักและให้ความสำคัญด้านความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย อีกทั้งการดำเนินกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทั้งผู้บริหาร พนักงานและชุมชน
          การดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างหลักเลี่ยงไม่ได้ เพราะทุกคนยังคงต้องอยู่ร่วมกันในสังคม ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องตระหนักในความสำคัญนี้ โดยให้การสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม อีกทั้งรัฐบาลควรมีการตรวจสอบการปฏิบัติและกำหนดแนวทางด้านความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อให้ทุกหน่วยงานมีแนวทางปฏิบัติเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้คุณภาพชีวิตของพนักงาน ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมขององค์กรดียิ่งขึ้น
 
Fulltext [Download]
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU