หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
ศักยภาพชุมชนบ้านสวนตูล เทศบาลเมืองเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
-
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
ดร. ศิริรักษ์ จวงทอง
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
งบวิจัยคณะ (เงินบำรุงการศึกษา)
สาขาการวิจัย
สาขาเศรษฐศาสตร์
ปีงบประมาณ
2555
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
1 ปี
งบประมาณ
ไม่ระบุ
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
-
สถานะของผู้ประสานงาน
-
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
ศักยภาพชุมชน, บ้านสวนตูล, จังหวัดสงขลา
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ใช้วิธีการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทชุมชน และศักยภาพชุมชน เพื่อหาแนวทางการพัฒนาชุมชนของบ้านสวนตูล เทศบาลเมืองเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ได้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้นำชุมชนทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ และผู้สูงอายุรวม 7 คน ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา จากข้อมูลบริบทชุมชนแล้วใช้ SWOT Analysis เพื่อสังเคราะห์ศักยภาพชุมชนและหาแนวทางการพัฒนา
ผลการวิจัยพบว่า หมู่บ้านสวนตูล อยู่ในตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา พื้นที่เป็นภูเขาและเชิงเขา มีเขารูปช้างซึ่งเป็นที่ตั้งของสวนสัตว์สงขลา อยู่ในเขตอิทธิพลของมรสุมเมืองร้อน ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับราชการและทำงานประจำเอกชน มีกลุ่มเศรษฐกิจและสังคมที่สำคัญหลายกลุ่ม มีผู้ที่มีองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในด้านต่างๆ ดังนั้นชุมชนบ้านสวนตูลจึงมีศักยภาพที่สำคัญในด้านจุดแข็งและโอกาสคือ ทำเลที่ตั้งซึ่งมีสภาพแวดล้อมธรรมชาติที่สวยงาม สะดวกสบายในการคมนาคม เป็นพื้นที่ที่เคยมีชุมชนโบราณก่อนประวัติศาสตร์และเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2 มีสวนสัตว์สงขลาซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับประเทศ นอกจากนั้น มีภูมิปัญญาทางด้านดนตรีพื้นบ้าน ด้านอาหารและของใช้ ซึ่งทำให้มีการรวมกลุ่มผลิตผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาดังกล่าว อย่างไรก็ตามในชุมชนบ้านสวนตูลยังไม่มีการทำแผนชุมชนที่ประชาชนมีส่วนร่วมและความสัมพันธ์ของคนในชุมชนลดลง เนื่องจากมีบุคคลภายนอกย้ายเข้ามาอยู่อาศัยในชุมชนเพิ่มขึ้นจนมีสัดส่วนที่มากกว่าคนดั้งเดิม นอกจากนี้ยังมีแรงงานก่อสร้างเข้ามารับจ้างทำงานในพื้นที่จำนวนมาก ซึ่งอาจมีผลต่อความปลอดภัยของคนในชุมชน จากผลการศึกษาศักยภาพชุมชนบ้านสวนตูล สามารถนำเสนอแนวทางการพัฒนาพื้นที่ชุมชนนี้ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีลักษณะผสมผสาน โดยมีการท่องเที่ยวเชิงนันทนาการที่สวนสัตว์สงขลาเป็นหลักแล้วจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยใช้ทุนชุมชน
Fulltext
[
Download
]
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU