หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
Factors Affecting the Success of the Education Quality Assurance of Songkhla Rajabhat University
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
นาย สุวิทย์ เพ็งทิพย์นาง
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย
สาขาการศึกษา
ปีงบประมาณ
2556
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
1 ปี
งบประมาณ
22,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
-
สถานะของผู้ประสานงาน
-
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
การประกันคุณภาพการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, ความพึงพอใจ
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาและ 2) สร้างสมการพยากรณ์ความสำเร็จการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรสายวิชาการและบุคลากรสายสนับสนุนที่ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาจำนวน 792 คนโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบสอบถามปัจจัยที่ส่งต่อความสำเร็จในการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป แบ่งเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ค่าเฉลี่ย (Means) ค่าร้อยละ (Percentage) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์ถดถอย (Regression Analysis) โดยใช้วิธีการวิเคราะห์คือ การวิเคราะห์ถดถอยแบบเข้าพร้อมกัน (Enter Method)
ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มีดังนี้
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสําเร็จในการดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา คือ ตัวแปรความรู้ความเข้าใจ ตัวแปรทัศนคติ และตัวแปรความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และตัวแปรการมีส่วนร่วมมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ข้อเสนอแนะในการนำผลวิจัยไปใช้ประโยชน์
1. ควรมีการจัดกิจกรรมแก่บุคลากรตามสมรรถนะการทำงาน เพื่อให้มีการพัฒนาความรู้อย่างถ่องแท้ รวมทั้งส่งเสริมบุคลากรได้พัฒนาความรู้โดยการเข้าถึงข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษาด้วยตนเอง เพื่อสะท้อนถึงความตระหนักและความต้องการการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
2. มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาต้องสร้างความรู้ความเข้าใจแก่บุคลากรในทุกระดับ มีการแลกเปลี่ยนความรู้อย่างสม่ำเสมอ มีการเสริมแรงจูงใจและการยกย่องชมเชยแก่บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบเป็นอย่างดี เกิดความรู้สึกภาคภูมิใจว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ
อันเนื่องมาจากผลสัมฤทธิ์ของงาน เพื่อช่วยเพิ่มสมรรถนะในการปฏิบัติงานโดยสนับสนุนส่งเสริมให้บุคลากรเกิดความรู้ความเข้าใจและเกิดการยอมรับต่อระบบงานด้านการประกันคุณภาพ
3. มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาควรมีนโยบายในการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีความรู้ ทัศนคติ และมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาด้วยวิธีการประชุมหรือฝึกอบรม
อย่างสม่ำเสมอและให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
4. ส่งเสริมให้บุคลากรมีความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันในด้านการปฏิบัติงาน เพราะระบบการประกันคุณภาพนั้นจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างบุคลากร การส่งเสริมให้บุคลากรมีความสัมพันธ์ที่ดีจะก่อให้เกิดการร่วมมือกันปฏิบัติงานตามไปด้วย
Fulltext
[
Download
]
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU