หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
ความหลากชนิดของนกและแหล่งดูนกในอุทยานแห่งชาติตะรุเตา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
Species diversity of bird and bird watching zone in the Tarutao Islands National Park
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
ดร. นุชจรินทร์ เพชรเกลี้ยง
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
งบประมาณแผ่นดิน(วช.)
สาขาการวิจัย
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
ปีงบประมาณ
2553
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
1 ปี
งบประมาณ
236,840 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สตูล
ผู้ประสานงานในพื้นที่
นายณัฐพล รัตนพันธ์
สถานะของผู้ประสานงาน
หัวหน้าอุทยานแห่งชาติตะรุเตา
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
bird diversity, tarutao island
บทคัดย่อ
การศึกษาความหลากชนิดของนก และแหล่งดูนกในอุทยานแห่งชาติตะรุเตาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนและปรับปรุงข้อมูลเกี่ยวกับความหลากชนิดของนกในแหล่งอาศัยแต่ละแบบในพื้นที่เกาะตะรุเตา เพื่อการใช้ประโยชน์ทางนันทนาการ และการจัดการพื้นที่อนุรักษ์ ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน 2552 ถึงเดือนเมษายน 2554 เลือกพื้นที่ศึกษาในแหล่งอาศัยทุกแบบในเกาะตะรุเตา เก็บข้อมูลตามแนวเส้นทางศึกษา 15 เส้นทาง ผลการศึกษา พบนกทั้งหมดในพื้นที่ศึกษา119ชนิด จาก 38วงศ์ โดยมีนกที่พบได้ในป่าดิบชื้นจำนวน 43ชนิด นกที่พบในป่าฟื้นตัวจำนวน 58ชนิด นกที่พบในป่าเขาหินปูนจำนวน 52ชนิด นกที่พบในป่าชายหาดจำนวน 57ชนิด และนกที่พบในป่าชายเลน จำนวน 42ชนิด ค่าดัชนีความหลากหลายของนกโดยรวมเท่ากับ 3.29 ในป่าฟื้นตัวมีค่าสูงที่สุดเป็น 3.70 รองลงมาเป็นป่าชายหาด มีค่าเป็น 3.67 ป่าบนเขาหินปูน มีค่าเป็น 3.54 ป่าชายเลนมีค่าเป็น 3.43 และป่าดิบชื้นมีค่าเป็น 3.35 การที่ป่าฟื้นตัว และป่าชายหาดมีความหลากหลายสูงเนื่องจากโครงสร้างป่าที่เปิดโล่ง ชั้นเรือนยอดเริ่มซับซ้อนขึ้น โดยเฉพาะในป่าฟื้นตัว ไม้พื้นล่างที่ออกดอกออกผลในป่าชายหาด ซึ่งเป็นรอยต่อของนิเวศชายฝั่งและนิเวศป่าบก เปิดโอกาสให้นกเข้ามาเลือกใช้พื้นที่ได้มากกว่า ขณะที่ในป่าดิบชื้น โครงสร้างป่าซับซ้อนสังเกตเห็นนกได้ยากกว่า พบนกที่อ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมมากกว่า แต่เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วพบว่าจำนวนชนิดนกและค่าดัชนีความหลากหลายของนกในแหล่งอาศัยแต่ละแบบไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (F=0.895, p=0.502 ; F=1.240, p=0.355) ตามลำดับ แสดงว่าแหล่งอาศัยแต่ละแบบล้วนมีศักยภาพรองรับจำนวนชนิดนกที่ใกล้เคียงกัน ดังนั้นต้องพิจารณาชนิดนกที่พบ นกที่มีความชุกชุมสูงมากและพบในแหล่งอาศัยทุกแบบ ได้แก่ เหยี่ยวแดง นกแก๊ก นกปรอดคอลาย นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ นกจับแมลงสีน้ำตาล และนกกินปลีคอสีน้ำตาล นกส่วนใหญ่มีความชุกชุมค่อนข้างน้อย ในจำนวนนกที่พบ ร้อยละ 69.7 เป็นนกประจำถิ่น ร้อยละ 30.3 เป็นนกอพยพ และจัดเป็นนกที่มีสถานภาพทางการอนุรักษ์ จำนวน 20ชนิด เช่น นกฟินฟุตที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง นกเค้าแดงที่ใกล้สูญพันธุ์นกออกและนกจับแมลงอกสีส้มที่มีแนวโน้มสูญพันธุ์ เป็นต้นจากข้อมูลในรอบปีแรก สามารถเลือกเส้นทางที่คาดว่าจะมีศักยภาพพัฒนาเป็นแหล่งดูนก ได้ 3 เส้นทาง ได้แก่ 1) เส้นทางศึกษาป่าชายเลนจากท่าเรือพันเตมะละกาไปยังถ้ำจระเข้ มีจุดเด่นที่นกชายเลน นกกินปลา มีทัศนียภาพแปลกตา 2) เส้นทางป่าชายหาดจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติตะรุเตาผ่านเขตรอยต่อระหว่างป่าชายหาดแนวหินปูน และป่าฟื้นตัว มีจุดเด่นที่การพบเห็นตัวนกทุกกลุ่มได้ง่าย มีความหลากหลายสูง และ 3) เส้นทางประวัติศาสตร์ตะโละวาวจากที่ทำการหน่วยพิทักษ์ป่าตะโละวาวผ่านเข้าไปตามเส้นทางไปอ่าวตะโละอุดัง มีจุดเด่นที่สามารถพบได้ทั้งนกชายเลน และนกป่า พร้อมได้ศึกษาประวัติศาสตร์ไปพร้อมกัน ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการดูนกในทุกเส้นทางคือ 7.00-9.00 น. นกส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการจับคู่ผสมพันธุ์และสร้างรังวางไข่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงกรกฎาคม บริเวณที่สร้างรังขึ้นอยู่กับแหล่งอาหาร แหล่งน้ำ และแหล่งหลบภัย ทั้งนี้ได้จัดทำคู่มือดูนกของแต่ละเส้นทาง ผู้สนใจสามารถค้นข้อมูลนกจากฐานข้อมูลที่จัดทำขึ้นเผยแพร่ ขณะเดียวกันพื้นที่ที่ควรสงวนสำหรับการอนุรักษ์นก คือป่าดิบชื้นดั้งเดิมไม่ควรพัฒนาเพิ่ม ป่าชายเลนด้านในคลองสาขาของคลองพันเตมะละกา บริเวณอ่าวตะโละวาว และอ่าวตะโละอุดัง ป่าชายหาดบริเวณอ่าวสน
Fulltext
ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU