ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย การเรียนรู้ท้องถิ่นในการจัดการวิจัยบูรณาการศาสตร์ร่วมกับการเรียนการสอนเพื่อการพัฒนาพื้นที่อย่างเป็นระบบและยั่งยืนในเขตพัฒนาเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ : กรณีศึกษาจังหวัดสตูล
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ -

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการดร. แสนศักดิ์ ศิริพานิช
ผู้ร่วมวิจัยผศ.ดร. ป้องศักดิ์ ทองเนื้อแข็ง
ผู้ร่วมวิจัยดร. เทพกร ณสงขลา
ผู้ร่วมวิจัยนางสาว วาสนา ขวัญทองยิ้ม
ผู้ร่วมวิจัยนางสาว ยุวดี เพ็ชรสงคราม

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย โครงการพัฒนาอาจารย์และบุคลากรสำหรับสถาบันอุดมศึกษาในเขตพัฒนาเฉพาะกิจชายแดนใต้ (สกอ.)
สาขาการวิจัย สาขาการศึกษา
ปีงบประมาณ 2553
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 4 ปี
งบประมาณ 1,000,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย ต.พิมาน อ.เมืองสตูล จ.สตูล
ผู้ประสานงานในพื้นที่ -
สถานะของผู้ประสานงาน -
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ บูรณาการศาสตร์, การเรียนการสอน, จังหวัดสตูล
บทคัดย่อ           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)พัฒนารูปแบบการจัดการวิจัยการบูรณาการศาสตร์ร่วมกับการเรียนการสอนเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น  2)สร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการจัดการวิจัยการบูรณาการศาสตร์ร่วมกับการเรียนการสอนเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น  3)พัฒนาระบบข้อมูลวิจัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่ โดยกระบวนการจัดการงานวิจัยบูรณาการศาสตร์ร่วมกับการเรียนการสอนเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้ได้ผ่านกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ สำรวจข้อมูลเชิงพื้นที่และการเสวนาจัดเวทีระดมความคิดเห็น การสืบค้นข้อมูล และการสังเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารต่างๆ ผลการศึกษาพบว่า
          1.จังหวัดสตูลมีความพร้อมด้านเอกภาพของชุมชนท้องถิ่น บริบทพื้นฐานในพื้นที่มีความเหมาะสม มีศักยภาพเป็นต้นแบบในพื้นที่เขตพัฒนาเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการวางแผนการพัฒนา พบว่าสภาพปัญหาหลักที่เกิดขึ้นในเขตพื้นที่จังหวัดสตูล นำมาสร้างเป็นกรอบวิจัยได้ 4 ประเด็นหลักคือ 1)การจัดการแผนพัฒนาภาคใต้ 2)การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3)ปัญหาเด็กเยาวชนและครอบครัว 4)ปัญหาความไม่เป็นธรรมในสังคมและคุณภาพชีวิตคนในสังคม
          2.การพัฒนาพื้นที่อย่างเป็นระบบและมีความยั่งยืนโดยผ่านกระบวนการวิจัยจากสถาบันการศึกษาในพื้นที่เช่นกัน ที่สามารถผลิตงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่เกิดประโยชน์ ต้องอาศัยปัจจัยต่างๆ อาทิเช่น ระบบและกลไกในการสนับสนุนการวิจัย มีการบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอน และผลงานวิจัยควรมีคุณภาพ ตอบสนองยุทธศาสตร์ของชาติและพื้นที่ ตลอดจนมีการเผยแพร่และนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง เพื่อให้การศึกษาวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่เป็นไปอย่างมีระบบ
          3.ระบบการบริการบริหารจัดการงานวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นใน 7 องค์ประกอบดังนี้ 1)การพัฒนาโจทย์วิจัยที่มุ่งแก้ปัญหา/ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นและของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา 2)การพัฒนาระบบการพิจารณาข้อเสนอโครงการวิจัย 3)การพัฒนานักวิจัย 4)การพัฒนาระบบติดตาม ประเมินผล และสนับสนุนการวิจัย 5)การพัฒนาหน่วยวิจัย 6)การสร้างเครือข่ายการวิจัย และ7)การพัฒนาระบบการเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่การนำไปใช้ประโยชน์
          4.การจัดการเรียนการสอนในจังหวัดสตูล ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา แผนพัฒนาบุคลากรและงานวิจัย 4 ปี ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จังหวัดสตูล และกรอบยุทธศาสตร์การศึกษา 10 ปี ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จังหวัดสตูล เป็นกระบวนการศึกษาในการพัฒนาระบบข้อมูลวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่ โดยกระบวนการจัดการการจัดการงานวิจัยบูรณาการศาสตร์ร่วมกับการเรียนการสอนเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่
          5.การสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่มีบทบาทเกี่ยวข้องการวิจัยบูรณาการศาสตร์ร่วมกับการเรียนการสอนในพื้นที่ จะต้องศึกษาความเป็นมาและข้อมูลต่างๆ ในชุมชนหรือหน่วยงานภายนอกนั้น ไม่ว่าด้านการศึกษา เศรษฐกิจ สังคม แสวงหาความร่วมมือที่มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยกับหน่วยงาน โดยเน้นการให้บริการวิชาการ การวิจัยและวิชาชีพบนฐานความต้องการของท้องถิ่น โดยผ่านเครือข่ายความร่วมมือกับท้องถิ่น
Fulltext [Download]
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU