ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ Knowledge, Attitudes and Behaviors about Food Consumption of Songkhla Rajabhat University Undergraduate Students

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการรศ.ดร. ทัศนา ศิริโชติ

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย สาขาสังคมวิทยา
ปีงบประมาณ 2555
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 1 ปี
งบประมาณ 35,250 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ -
สถานะของผู้ประสานงาน -
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, ความรู้, ทัศนคติ
บทคัดย่อ           การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษา 2) เปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาที่มีข้อมูลส่วนบุคคลต่างกัน และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคปกติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2ปีการศึกษา 2556จาก 7 คณะ จำนวน 10,271คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 385คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น โดยใช้คณะเป็นชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที ค่า F และค่า r
          ผลการวิจัยพบว่านักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารโดยรวมอยู่ในระดับพอใช้ มีเพียงคณะศิลปกรรมศาสตร์ที่นักศึกษามีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนที่เหลืออีก 6 คณะมีความรู้ในระดับพอใช้ นักศึกษามีทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหารโดยรวมอยู่ในระดับดี โดยอยู่ในระดับ ดี 4 คณะ ในระดับปานกลาง 3 คณะ และนักศึกษามีพฤติกรรมการบริโภคอาหารโดยรวม และในทุกคณะอยู่ในระดับปานกลาง การเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาที่มีข้อมูลส่วนบุคคลต่างกัน พบว่า นักศึกษาที่มีข้อมูลส่วนบุคคลในประเด็นชั้นปีการศึกษา ภูมิลำเนาเดิมรายได้ต่อเดือนของนักศึกษา และภาวะโภชนาการที่ต่างกัน มีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่แตกต่างกันแต่นักศึกษาที่มีเพศ สาขาวิชาที่ศึกษา ลักษณะการอยู่อาศัย รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว และแหล่งความรู้เรื่องเรื่องการบริโภคอาหารต่างกัน มีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารแตกต่างกันและความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษา พบว่ามีความสัมพันธ์กันเชิงบวกหรือในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ นักศึกษาที่มีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารดี จะมีทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่ดี และจะมีพฤติกรรมเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่ดีด้วย
Fulltext [Download]
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU