หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
รูปแบบการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน : กรณีศึกษา จังหวัดสงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
Model of Small and Micro Community Enterprise : Case Study of Songkhla
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
ผศ.ดร. ภัทริยา สังข์น้อย
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
สาขาการวิจัย
สาขาเศรษฐศาสตร์
ปีงบประมาณ
2554
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
3 ปี
งบประมาณ
292,509 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
-
สถานะของผู้ประสานงาน
-
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
วิสาหกิจชุมชน, จังหวัดสงขลา, การบริหารจัดการ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ศึกษาการบริหารจัดการของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสงขลา จำนวน 165 ตัวอย่าง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับการวิจัยเชิงปริมาณ วิเคราะห์รูปแบบการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา การศึกษาพบว่า การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนบางกลุ่มไม่เป็นระบบ โดยเฉพาะกลุ่มจัดตั้งและศูนย์การเรียนรู้ ดังนั้นเพื่อให้วิสาหกิจดังกล่าวสามารถพึ่งตนเองได้ ควรพิจาณาปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อรูปแบบการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน ได้แก่ บริบทชุมชน กระบวนการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน สภาพแวดล้อมภายนอก และการแสวงหาความร่วมมือจากภายนอก ซึ่งปัจจัยดังกล่าวมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน กล่าวคือ การก่อตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ริเริ่มมาจากคนในชุมชนเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จต่อวิสาหกิจชุมชน ทั้งนี้กระบวนการจัดตั้งกลุ่มที่มาจากความคิดริเริ่มของคนในชุมชนนั้น จำเป็นต้องอาศัยบริบทชุมชน ได้แก่ ทุนทางวัฒนธรรม สังคม และทรัพยากรธรรมชาติ ในส่วนของการจัดการวิสาหกิจชุมชนนั้น ไม่ว่าจะเป็นด้านการบริหารจัดการ การผลิต การตลาด การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การเงินและบัญชี และการวิจัยและพัฒนา ล้วนได้รับอิทธิพลมาจากการจัดตั้งกลุ่มและการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมภายนอก อย่างไรก็ตามความเข้มแข็งในการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก ไม่ว่าจะเป็น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานเกษตร สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ และสถาบันการศึกษาต่างๆ ซึ่งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทั้งที่กำลังจัดตั้ง หรือจัดตั้งแล้วและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนสามารถนำปัจจัยดังกล่าวมาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการกลุ่ม เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจระดับชุมชนให้มีเสถียรภาพต่อไป
Fulltext
ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU