ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย |
คุณภาพชีวิตของนักเรียนมัธยมศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ |
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ |
The Quality of life Secondary Education Pupils in three Southern Border Provinces |
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ | ผศ. พรชัย พุทธรักษ์ | ผู้ร่วมวิจัย | นาย ดำรงเกียรติ ศรีเทพ |
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย |
งบประมาณแผ่นดิน(วช.) |
สาขาการวิจัย |
สาขาสังคมวิทยา |
ปีงบประมาณ |
2554 |
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย |
1 ปี |
งบประมาณ |
62,000 บาท |
พื้นที่ทำการวิจัย |
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา |
ผู้ประสานงานในพื้นที่ |
- |
สถานะของผู้ประสานงาน |
- |
ประเภทงานวิจัย |
เดี่ยว |
สถานะงานวิจัย |
ดำเนินการเสร็จสิ้น |
คำสำคัญ |
คุณภาพชีวิต, สามจังหวัดชายแดนภาคใต้, นักเรียนมัธยมศึกษา |
บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1)ระดับคุณภาพชีวิต 2)ความต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิต 3)เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของนักเรียนมัธยมศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลแตกต่างกัน 4)ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตกับความต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิต และ 5)ศึกษาความสามารถในการพยากรณ์คุณภาพชีวิตที่มีผลต่อความต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของนักเรียนมัธยมศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test, F-test ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1)คุณภาพชีวิตนักเรียนมัธยมศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในภาพรวมส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับดี
2)ความต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
3)นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีระดับชั้นปีการศึกษา อายุ สถานภาพสมรสของผู้ปกครอง และจำนวนพี่น้องในครอบครัวต่างกัน มีคุณภาพชีวิตต่างกัน
4)คุณภาพชีวิต และความต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนมัธยมศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง (r=.56) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
5)คุณภาพชีวิตด้านจิตใจ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านสัมพันธภาพสังคมมีอิทธิพลในการทำนายความต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของนักเรียนมัธยมศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ |
Fulltext |
ไม่มีไฟล์ |
จำนวนการอ่าน |
|
|