หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
ชนิด อายุของกล้วยและเทคนิคการทำให้อาหารปลอดเชื้อต่อการเลี้ยงกล้วยไม้สกุลหวายในหลอดทดลอง
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
Type, ages of banana and techniques for sterilization of culture media on in vitro multiplication of Dendrobium spp.
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
ผศ.ดร. จักรกริช อนันตศรัณย์
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
งบประมาณแผ่นดิน(วช.)
สาขาการวิจัย
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
ปีงบประมาณ
2553
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
1 ปี
งบประมาณ
50,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
-
สถานะของผู้ประสานงาน
-
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
อายุของกล้วย, อาหารปลอดเชื้อ, การเลี้ยงกล้วยไม้
บทคัดย่อ
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้อย่างง่ายภายในชุมชนต้องอาศัยสารอาหารและอุปกรณ์ที่มีอยู่ทั่วไปในครัวเรือน จึงได้วิจัยการขยายพันธ์กล้วยไม้ 2 สายพันธ์ คือ กล้วยไม้พันธ์มัจฉานุและมัจฉาเหลือง ด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงอย่างง่าย โดยศึกษาสูตรอาหาร MS ร่วมกับสารอาหารที่ได้จากธรรมชาติ คือ กล้วยบด และเปรียบเทียบการใช้หม้อนึ่งไอน้ำและหม้ออัดไอในการการทำให้สารอาหารปลอดเชื้อจุลินทรีย์ พบว่า หม้อนึ่งไอน้ำสามารถใช้แทนหม้อนึ่งอัดไอได้ หม้อนึ่งไอน้ำสามารถนำมาฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในสารอาหาร ด้วยไอน้ำ 100 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 60 นาที จะได้อาหารปลอดเชื้อ และสารอาหารเสื่อมสภาพน้อยกว่าการนึ่งด้วยหม้ออัดไอ 121 องศาเซลเซียส ความดัน 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ระยะเวลา 20 นาที เมื่อนำมาเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ทั้งสองสายพันธุ์จะเจริญเติบโตได้ดีกว่า และทดสอบชนิดของกล้วยบดที่เติมลงสูตรอาหาร พบว่า กล้วยนำว้าทำให้กล้วยไม้เจริญเติบโตได้ดีกว่ากล้วยไข่และกล้วยหอมบด อายุของกล้วยที่ใช้ควรเป็นระยะสุกงอม แต่การเติมกล้วยบดปริมาณ (มากกว่า 75 กรัมต่อลิตร) ในสูตรอาหารไม่เหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้ทั้งสองสายพันธ์
สูตรอาหารที่เหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้พันธ์มัจฉานุและมัจฉาเหลืองอย่างง่าย คือ สูตรอาหาร MS ที่เติมกล้วยน้ำว้าระยะสุกงอม บด ปริมาณ 75 กรัมต่อลิตร เมื่อนำมาเลี้ยงกล้วยไม้เป็นเวลา 8 สัปดาห์ มีความสูง 3 เซนติเมตร เพียงพอต่อการย้ายเลี้ยงอนุบาลภายในโรงเรือนต่อไป
Fulltext
ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU