ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย การรออกแบบและสร้างเครื่องรีดกระจูดเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีสู่ท้องถิ่น : กรณีศึกษาสำหรับชุมชนทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ Designing and Construction of the Bulrush Plant Fleecing machine for Technology Development in Local Area

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการนาย พุฒิธร ตุกเตียน
ผู้ร่วมวิจัยนาย นิพนธ์ มณีโชติ
ผู้ร่วมวิจัยรศ.ดร. วีระชัย แสงฉาย
ผู้ร่วมวิจัยนาย เสรี หนูหลง
ผู้ร่วมวิจัยนาย วีรชัย มัฎฐารักษ์

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย งบประมาณแผ่นดิน(วช.)
สาขาการวิจัย สาขาการศึกษา
ปีงบประมาณ 2555
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 1 ปี
งบประมาณ 120,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ -
สถานะของผู้ประสานงาน -
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ -
บทคัดย่อ           งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการออกแบบและสร้างเครื่องมือรีดกระจูด เพื่อลดปัญหาทางการยศาสตร์ในการรีดกระจูดของกรณีศึกษาชุมชนทะเลน้อย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ขั้นตอนการดำเนินงาน เริ่มจากการศึกษาข้อมูลเบื้องต้น ศึกษาปัญหาทางการยศาสตร์ประกอบการเขียนภาพสเกตซ์  ดำเนินการสร้างเครื่องรีดกระจูด ทดลองและประเมินผลโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน จากนั้นประเมินทางการยศาสตร์โดยเปรียบเทียบการรีดด้วยแรงงานคน ผลการทดลองเครื่องรีดกระจูดที่ได้ออกแบบสร้างพบว่าเครื่องสามารถรีดกระจูดได้ดีที่สุด จำนวน 50 เส้น โดยใช้เวลา 10 นาที ส่วนในการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบโครงสร้างได้ค่าคะแนนคิดเป็น 4.25 ด้านการใช้งานของเครื่องรีดกระจูดได้ค่าคะแนนคิดเป็น 3.90 และด้านผลผลิตของกระจูดได้ค่าคะแนนคิดเป็น 4.08 สรุปผลโดยรวมทั้ง 3 ด้าน คิดเป็นค่าเฉลี่ย4.07 ซึ่งโดยภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ในการประเมินทางการยศาสตร์ในการรีดกระจูดด้วยแรงงานคน ผลการวิเคราะห์ด้วยวิธี RULA พบว่าคะแนนเท่ากับ 7 ซึ่งหมายถึงว่ามีปัญหาทางการยศาสตร์ต้องปรับปรุงการทำงานโดยทันที ผลนี้สอดคล้องกับการวิเคราะห์ด้วยวิธี REBA ซึ่งพบว่าคะแนนเท่ากับ 11 ซึ่งหมายถึงการทำงานที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งต้องการตรวจสอบและปรับเลี่ยนท่าทางการทำงานในทันที จากนั้นนำเครื่องรีดกระจูดที่ได้ออกแบบสร้างไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างเดิม เพื่อตรวจสอบและประเมินภาวะทางการยศาสตร์อีกครั้ง ผลการวิเคราะห์ด้วยวิธี RULA พบว่าคะแนนลดลงเหลือ 3 โดยสอดคล้องกับการวิเคราะห์ด้วยวิธี REBA ซึ่งพบว่าคะแนนลดลงเหลือ 3 เช่นกัน จากผลคะแนนสรุปได้ว่าปัญหาทางการยศาสตร์ ของกลุ่มตัวอย่างลดลงจากการออกแบบสร้างเครื่องรีดกระจูด ดังนั้นสรุปได้ว่าเครื่องรีดกระจูดสามารถแก้ปัญหาทางการยศาสตร์
Fulltext ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU