หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
การพัฒนาผลิตภัณฑ์เห็ดนางฟ้าปรุงรส
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
Development of Flavored Mushroom Indian Oyster Product
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
นางสาว กมลทิพย์ นิคมรัตน์
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
ปีงบประมาณ
2549
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
1 ปี
งบประมาณ
ไม่ระบุ
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
ไม่ระบุ
สถานะของผู้ประสานงาน
ไม่ระบุ
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
เห็ดนางฟ้า
บทคัดย่อ
จากการศึกษาความต้องการเบื้องต้นของผู้บริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เห็ดนางฟ้าปรุงรส พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่นิยมรับประทานเห็ดนางฟ้าส่วนดอกและก้านรวมกัน ร้อยละ 56 รูปแบบ เห็ดนางฟ้าปรุงรสแบบชิ้นและแบบเส้นร้อยละ 56 และ 44 โดยผู้บริโภคต้องการให้ปรุงรสต้มยำและบาร์บีคิว ร้อยละ 46 และ 34 ตามลำดับ จากผลการศึกษารูปแบบ และรสชาติที่เหมาะสมในวิธีการแปรรูป พบว่า เห็ดนางฟ้ารูปแบบชิ้น ได้รับคะแนนความชอบในด้าน สี ลักษณะปรากฏ และความชอบรวมสูงกว่ารูปแบบเส้น (P < 0.05) เนื่องจากมีสีอ่อนกว่าและอมน้ำมันน้อยกว่า (P < 0.05) จากการศึกษาชนิดและปริมาณผงปรุงรส พบว่า เห็ดนางฟ้า ที่ใช้ปรุงรสบาร์บีคิว ร้อยละ 20 และผงปรุงรสต้มยำ ร้อยละ 15 ได้รับคะแนนความชอบรวมสูงกว่าการใช้ผงปรุงรสระดับอื่น (P < 0.05)
จากการศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภค พบว่าเห็ดนางฟ้ารสบาร์บีคิวได้รับคะแนนความชอบสูงกว่าเห็ดนางฟ้ารสต้มยำในด้าน สี ลักษณะปรากฏ รสชาติ และความชอบรวม (P < 0.05) โดยผู้บริโภคให้การยอมรับผลิตภัณฑ์เห็ดนางฟ้าปรุงรส ร้อยละ 100 และยินดีซื้อผลิตภัณฑ์ในราคา 25 บาท (30 กรัม / ถุง) ร้อยละ 70 จากการวิเคราะห์องค์ประกอบ ทางเคมีผลิตภัณฑ์เห็ดนางฟ้าปรุงรส พบว่า ผลิตภัณฑ์มีไขมัน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน เถ้า เยื่อใย และความชื้น เท่ากับร้อยละ 48.85 , 34.09 , 8.25, 5.34, 1.80 และ 1.67 ตามลำดับ จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงระหว่างการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์เห็ดนางฟ้าปรุงรสในถุงพลาสติกชนิด โพลิโพรพิลีนเป็นระยะเวลา 1 เดือน พบว่า ผลิตภัณฑ์มีความชื้นและค่า TBARS เพิ่มขึ้น เมื่อระยะเวลาการเก็บรักษาเพิ่มขึ้น (P < 0.05) อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนตลอด ระยะเวลาเก็บรักษาโดยผลประเมินทางด้านประสาทสัมผัสเมื่อเก็บรักษาผลิตภัณฑ์เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ผู้บริโภคยังให้การยอมรับผลิตภัณฑ์อยู่แต่ในช่วงสัปดาห์ที่ 4 ผู้บริโภคจะให้คะแนนความชอบลดลง
Fulltext
ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU