หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
การประยุกต์ใช้ไทเทเนียมไดออกไซด์เคลือบบนกระจกเพื่อฆ่าเชื่อโรค
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
The application of titanium dioxide coating on the glass substrate
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
รศ.ดร. วีระชัย แสงฉาย
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
งบประมาณแผ่นดิน(วช.)
สาขาการวิจัย
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
ปีงบประมาณ
2554
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
1 ปี
งบประมาณ
220,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
-
สถานะของผู้ประสานงาน
-
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
-
บทคัดย่อ
งานวิจัยในครั้งนี้สามารถสรุปการดำเนินงานวิจัยออกเป็น 2 ส่วน โดยมีรายละเอียดดังนี้ ผงไทเทเนียมไดออกไซด์ และดังนี้ ผงไทเทเนียมไดออกไซด์ที่โด๊ปด้วย Ag(1-5%mol) เตรียมด้วยกระบวนการ โซล-เจล แล้วนำผงที่ได้ไปเผาที่อุณหภูมิ 400 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ด้วยอัตราการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเท่ากับ 10 องศาต่อนาที ลักษณะโครงสร้างต่างๆ ของผงที่สังเคราะห์จะใช้เทคนิค SEM,XRD และ EDX ในการวิเคราะห์ ผลพบว่าผงมีลักษณะการรวมตัวกัน และโครงสร้างของไทเทเนียมไดออกไซด์จะเป็นเฟสอะนาเทสเพียงอย่างเดียว แล้วนำผลไปทดสอบปฎิกิริยาโฟโตแคตะไลติกในการย่อยสลายสารเมทิลีนบลู พร้อมทั้งทดสอบสมบัติการฆ่าเชื้อ
E.coli
ผลการทดลองพบว่า ปริมาณตัวโด๊ป Ag ที่เพิ่มขึ้น จะส่งผลให้ปฎิกิริยาโฟโตแคตะไลติก และสมบัติการฆ่าเชื้อ
E.coli
ที่ดี โดยผงไทเทเนียมไดออกไซด์ที่โด๊ปด้วย Ag5%mol(TiO
2
-5Ag) ให้ค่าปฎิกิริยาโฟโตแคตะไลติก และสมบัติการฆ่าเชื้อ
E.coli
ที่สูงสุด ซึ่งมีค่าเท่ากับ 52.30 และ 95.14 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
ฟิล์มไทเทเนียมไดออกไซด์ และฟิล์มไทเทเนียมไดออกไซด์โด๊ปด้วย Ag5%mol(TiO
2
-5Ag) เตรียมด้วยกระบวนการ โซล-เจล แล้วนำไปเคลือบบนกระจกด้วนวิธีการแบบจุ่มเคลือบซึ่งจำนวนชั้นในการเคลือบเท่ากับ 1,2 และ 3 แล้วนำไปเผาที่อุณหภูมิ 400 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ด้วยอัตราการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเท่ากับ 10 องศาต่อนาที แล้วใช้เครื่อง SEM ในการตรวจสอบลักษณะของฟิล์ม พร้อมทั้งทดสอบปฎิกิริยาโฟโตแคตะไลติก ในการย่อยสลายสารเมทิลีนบลู และทดสอบสมบัติการฆ่าเชื้อ
E.coli
ผลการทดลองพบว่า ปฎิกิริยาโฟโตแคตะไลติก ติก ในการย่อยสลายสารเมทิลีนบลู และทดสอบสมบัติการฆ่าเชื้อ
E.coli
ของฟิล์มไทเทเนียมไดออกไซด์โด๊ปด้วย Ag 5 %mol มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามจำนวนชั้นในการเคลือบที่เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับฟิล์มไทเทเนียมไดออกไซด์ โดยฟิล์มไทเทเนียมไดออกไซด์โด๊ปด้วย Ag 5 %molที่จำนวนชั้นในการเคลือบเท่ากับ 3 ชั้น แสดงปฎิกิริยาโฟโตแคตะไลติก ติก และสมบัติการฆ่าเชื่อ
E.coli
ที่ดีที่สุด ซึ่งมีค่าเท่ากับ 68.00 และ 94.21 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
Fulltext
ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU