ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย การจัดการวิสาหกิจชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษา หมู่ที่ 8 ท่าสะอ้าน ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ The Management of Community Enterprise by Sufficiency Economy Principle: Case Study of Moo 8 Tasa-an, Tambon Khao Rup Chang, Amphoe Mueang, Songkhla Province

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการรศ.ดร. ประภาพร ยางประยงค์

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย งบวิจัยคณะ (เงินบำรุงการศึกษา)
สาขาการวิจัย สาขาเศรษฐศาสตร์
ปีงบประมาณ 2555
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 1 ปี
งบประมาณ ไม่ระบุ
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ -
สถานะของผู้ประสานงาน -
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ การจัดการ, วิสาหกิจชุมชน, ปรัชญาเศรษฐกิจพอ
บทคัดย่อ
       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือศึกษาการจัดการปัจจุบันของวิสาหกิจชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และศึกษาผลการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา หมู่ที่ 8 ท่าสะอ้าน ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงวิสาหกิจชุมชน 3 ประเภทคือ (1) หัตถกรรมการผลิตของชำร่วย: ขนมไทยจิ๋ว (2) การผลิตผักปลอดสารพิษไฮโดรโปนิกส์ และ (3) กลุ่มเกษตรกรผลิตน้ำลูกยอ: ศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง เครื่องมือการวิจัยคือการสังเกตแบบ  มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค และแบบสอบถาม 
       ผลการศึกษาพบว่าการจัดการของหัตถกรรมการผลิตของชำร่วย: ขนมไทยจิ๋ว สรุปในภาพรวมใช้หลักปรัชญาพอเพียง เพราะเป็นการผลิตขนาดเล็ก (สมาชิก 10 คน) ดำเนินการผลิต ณ บ้านประธานกลุ่มฯ ตามปริมาณการสั่งซื้อของลูกค้า ลงทุนเฉพาะซื้อวัตถุดิบ ไม่มีการกู้เงิน มีการขายตรงในงานแสดงสินค้าโอทอป ผลการดำเนินงานมีกำไร แต่พบจุดอ่อนทางด้านส่วนผสมทางการการตลาดของผลิตภัณฑ์คือไม่มีฉลากและบรรจุภัณฑ์ไม่สวยงาม สรุปการดำเนินงานมีความมั่นคง    แต่มีประสิทธิภาพน้อย สำหรับวิสาหกิจการผลิตผักปลอดสารพิษไฮโดรโปนิกส์ สรุปในภาพรวมใช้หลักปรัชญาพอเพียง เพราะเป็นการผลิตขนาดเล็ก (สมาชิก 10 คน) มีผลิตภัณฑ์หลากหลาย เน้นคุณภาพและความสะอาด มีการวางระบบของแผนการผลิตและแรงงานชัดเจน ใช้จ่ายเงินอย่างเห็นคุณค่า จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทั้งขายปลีกและขายส่ง มีการสร้างเครือข่าย และมีมาตรฐานผลิตภัณฑ์ เช่น การรับรองแหล่งการผลิตและรับรองคุณภาพสินค้า สรุปการดำเนินงานมีศักยภาพและมีประสิทธิภาพสูงสำหรับกลุ่มเกษตรกรผลิตน้ำลูกยอ: ศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง โดยสำรวจใช้แบบสอบถาม ผู้ให้ข้อมูลคือเกษตรกรและชาวบ้านผู้เกี่ยวข้องจำนวน 50 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ พบว่ามีความเห็นสอดคล้องในการจัดตั้งกลุ่มผลิตน้ำลูกยอ โดยต้องเตรียมความพร้อมเพื่อให้เกิดความยั่งยืน  ใน 3 ประการคือการจัดหาสถานที่เหมาะสมและสะดวกในการดำเนินการผลิต การพัฒนาบุคลากรให้ มีความรู้ความสามารถ และงบประมาณสนับสนุน
Fulltext ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU