ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย แนวทางการพัฒนาทางการตลาด สำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชน : กรณีศึกษา วิสาหกิจแม่บ้านเกษตรกรทอผ้าเกาะยอ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ The Guideline for Marketing lomprovement of the Community Enterprise : The Case Study of Dok-Ruk is, Kohyor Hand-Woven Fabric,Tambon Kohyor is, Mueang District, Songkhla Province.

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการรศ.ดร. ประภาพร ยางประยงค์

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย งบวิจัยคณะ (เงินบำรุงการศึกษา)
สาขาการวิจัย สาขาเศรษฐศาสตร์
ปีงบประมาณ 2552
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 1 ปี
งบประมาณ 21,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ -
สถานะของผู้ประสานงาน -
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ การตลาด, ผลิตภัณฑ์ชุมชน, วิสาหกิจผ้าทอเกาะยอ
บทคัดย่อ        งานวิจัย มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ดังนี้ ประการแรก คือ ศึกษาสภาพการดำเนินงานปัจจุบันของวิสาหกิจแม่บ้านเกษตรกรทอผ้าเกาะยอ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ประการที่สอง คือ วิเคราะห์การดำเนินงานของวิสาหกิจ ฯ ด้านจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ด้วยวิธี SWOT analysis ประการที่สาม คือ วิเคราะห์แนวทางการพัฒนาทางการตลาด สำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอเกาะยอ โดยเป็นการศึกษาแบบเจาะจงกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทอผ้าเกาะยอ สำหรับวิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสอบถาม การสัมภาษณ์กลุ่ม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผลการศึกษาสภาพการดำเนินงานปัจจุบัน พบว่า วิสาหกิจ ฯ มีสมาชิกจำนวน 10 คน รวมตัวกันในการผลิต สินค้าผ้าทอเกาะยอ มี 2 ลักษณะ คือ ผลิตภัณฑ์ผ้าทอเกาะยอเป็นผืน และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าทอเกาะยอ มีการดำเนินการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่ โดยใช้สถานที่ คือ บ้านของประธาน ณ ตำบลเกาะยอ ผลการวิเคราะห์การดำเนินงาน พบจุดอ่อนทางด้าน ตราสินค้า ฉลาก และบรรจุภัณฑ์ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ กรณีตราสินค้า ไม่สามารถแสดงเอกลักษณ์ของ ตัวผลิตภัณฑ์ได้เลย นอกจากนั้น ฉลาก และบรรจุภัณฑ์ ก็ไม่สวยงาม ไม่สามารถดึงดูดลูกค้า และไม่สะดุดตาผู้บริโภค โดยที่ฉลาก เป็นสติกเกอร์ และมีขนาดเล็ก สำหรับบรรจุภัณฑ์ คือ ใช้ถุงพลาสติกใส ในการส่งมอบสินค้า โดยบรรจุภัณฑ์ ที่เป็นกล่อง ซึ่งมีความสวยงาม ไม่มีการนำมาใช้ เนื่องจากมีต้นทุนในการผลิตสูงมาก สำหรับแนวทางพัฒนาทางการตลาด เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภค คือ ควรมีการปรับปรุง และพัฒนา ตราสินค้า ฉลาก และบรรจุภัณฑ์ ให้มีลักษณะที่ แสดงถึงเอกลักษณ์ของตัวผลิตภัณฑ์ได้ชัดเจน มีความสวยงาม สามารถดึงดูด จูงใจลูกค้า ให้ซื้อสินค้า และกลับมาซื้อสินค้าซ้ำ นอกจากนั้น วิสาหกิจ ฯ ควรมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ผ้าทอเกาะยอ อย่างต่อเนื่อง และตลอดเวลา เพื่อให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า อย่างเป็นปัจจุบันที่สุด ลูกค้าจะเกิดความพึงพอใจเพิ่มขึ้น
Fulltext ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU