ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย องค์การแห่งการเรียนรู้ กรณีศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ Learnning Organization Case Study Songkhla Rajabhat Faculty of Management Science

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการนาง ปาริชาติ จันทร์ศรีบุตร
ผู้ร่วมวิจัยรศ.ดร. สายฝน ไชยศรี

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย ทุนอุดหนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย สาขาการศึกษา
ปีงบประมาณ 2551
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 1 ปี
งบประมาณ ไม่ระบุ
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ ไม่ระบุ
สถานะของผู้ประสานงาน ไม่ระบุ
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ การเรียนรู้, รูปแบบวิธีคิด, องค์การ, ความคิด
บทคัดย่อ        การวิจัยเรื่อง "องค์กรแห่งการเรียนรู้ ศึกษากรณีศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา" ครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของบุคลากรต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้  และเพื่อศึกษรความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้  ประชากรที่ศึกษาได้แก่บุคลากรคณะวิทยาการจัดการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา  ทั้งบุคลากรผู้สอนและสายสนับสนุน  จำนวน 60 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะหืข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์

       ผลการศึกษาพบว่าบุคลากรของคณะมีระดับความคิดเห็นว่าคณะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในระดับมาก  โดยมีองค์ประกอบด้านบุคลมีความเป็นเลิศมีมากที่สุดและรองลงมา  คือรูปแบบวิธีคิด  การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน  การคิดอย่างเป็นระบบ  และการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมตามลำดับ  จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวินัย 5 ประการของ ปีเตอร์ เอ็ม เซ็งกี้  กับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของคณะวิทยาการจัดการนั้น มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดย ปัจจัยทุกตัวมีความสัมพันธ์ในทางบวก  ความเข้มของความสัมพันธ์อยู่ในระดับที่ค่อนข้างมาก  โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้  ความสามารถของบุคลากร โครงสร้างองค์การ วิสัยทัศน์ พันธกิจและยุทธศาสตร์ ภาวะผู้นำ ระบบด้านการจัดการ  วัฒนธรรมองค์การ  เทคโนโลยี  บรรยากาศในการทำงาน  การจูงใจ  นอกจากนี้ผู้วิจยัได้สรุปข้อเสนอแนะในแต่ละปัจจัย  ได้แก่  การเสนอแนะเชิงนโยบายให้ผู้บริหารผลักดัน  กระตุ้นแนวคิดองค์การแห่งการเรียนรู้ให้แก่บุคลากร  โดยสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้  สนับสนุนการสื่อสารทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ  มีการสัมมนาเชิงปฏบัติการ  ทัศนศึกษาดูงาน  ให้ความสำคัญกับการทำผลงานนวัตกรรมใหม่  และการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น  สรา้งบรรยากาศแห่งการเรียนรู้  จัดโครงสร้างองค์การในแนวราบ  มีการจูงใจทั้งภายในและภายนอกเพื่อให้บุคลากรมีความจงรักภักดีกับองค์การ
Fulltext ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU