หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
การใช้มัลติวิว (Multiview) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการใช้งานบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์: กรณีศึกษารายวิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐานของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
Using Multiview to Identify Factors that Affect the Use of Electronic Course: A Case Study of Basic Computer Course in Songkhla Rajabhat University
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
ผศ.ดร. ศศลักษณ์ ทองขาว
ผู้ร่วมวิจัย
นาย จักสิทธิ์ โอฬาริกชาติ
ผู้ร่วมวิจัย
นาย โชติธรรม ธารรักษ์
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
ทุนอุดหนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย
สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์
ปีงบประมาณ
2555
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
1
งบประมาณ
30,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
ผศ.ดร.ศศลักษณ์ ทองขาว
สถานะของผู้ประสานงาน
หัวหน้าโครงการ
ประเภทงานวิจัย
กลุ่ม
สถานะงานวิจัย
กำลังดำเนินการ
คำสำคัญ
LMS
บทคัดย่อ
ระบุบทคัดย่อปัจจุบันมีการใช้งานบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ในรายวิชาต่าง ๆ อย่างกว้างขวางทั้งในมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และในมหาวิทยาลัยในประเทศไทยโดยทั่วไป บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสนับสนุนการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ ทั้งรายวิชาบังคับ และรายวิชาเลือกของโปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายวิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน ซึ่งโปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์รับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอนแก่นักศึกษาทั้งมหาวิทยาลัย ทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มพูนศักยภาพในการใช้คอมพิวเตอร์ของนักศึกษา บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้เนื้อหาเพิ่มเติมนอกห้องเรียน และใช้ในการเรียนรู้เทียบได้กับห้องเรียนเสมือน (Virtual classroom) การใช้งานบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์จึงมีส่วนสำคัญทั้งผู้ที่สร้างและผู้ที่เข้าไปมีส่วนร่วมในการออกแบบตลอดจนถึงการออกแบบบทเรียน การจะสร้างบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ให้มีคุณภาพนั้นจะต้องคำนึงถึงผู้ใช้สามกลุ่มคือ กลุ่มผู้สร้างบทเรียน กลุ่มผู้ดูแลรักษา และกลุ่มผู้เรียน การจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ให้เหมาะสมกับมหาวิทยาลัยนั้น จำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายด้านรวมถึงความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และความพร้อมของมหาวิทยาลัยนั้นๆ
ปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการแก้ไข โดยการแก้ปัญหานั้นจำเป็นต้องทราบถึงปัจจัยหลักที่เป็นเหตุจูงใจในการใช้งานบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ และปัญหาที่ส่งผลกระทบหรือเป็นอุปสรรคในการใช้งานระบบการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์โดยภาพรวม จะทำให้สามารถพัฒนาระบบการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืนได้ ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฏีมัลติวิว (Avison & Wood-Harper, 1990) ที่สามารถมองเห็นภาพรวมของการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์อย่างเหมาะสม เพื่อประโยชน์สูงสุดขององค์กรนั้น ๆ
Fulltext
ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU