ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย ผลงานประติมากรรมสมัยใหม่ตกแต่งสิ่งแวดล้อม บริเวณชายหาดสมิหลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ A Comparative Case Study : Modern Sculptures for Environment Decoratived at Samihla Beach

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการนาย ทวี บำรุงศักดิ์

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย งบประมาณแผ่นดิน(วช.)
สาขาการวิจัย สาขาปรัชญา
ปีงบประมาณ 2550
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 2550
งบประมาณ 15,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ ไม่มี
สถานะของผู้ประสานงาน ไม่มี
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ ผลงานประติมากรรมสมัยใหม่ตกแต่งสิ่งแวดล้อม บริเวณชายหาดสมิหลา
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาผลงานประติมากรรมสมัยใหม่ตกแต่งสิ่งแวดล้อม  บริเวณชายหาดสมิหลา  สำหรับวงการศิลปะสมัยใหม่ของประเทศไทย   และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการสร้างสรรค์ผลงานของศิลปินชาวไทย ตั้งแต่ครั้งแรกเริ่มจนถึงรูปแบบที่ควรจะเป็นในอนาคต  เป็นการวิจัยและพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อ  ภายใต้กรอบบริบททางวัฒนธรรมประจำถิ่น ด้วยกลวิธีในการนำเสนอรูปแบบทางประติมากรรมที่หลากหลายตามเสรีภาพอย่างอิสระของผู้สร้างผลงาน  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  เป็นผลงานของศิลปินสมัยใหม่ที่ยังมีชีวิตอยู่  และส่วนใหญ่ได้จัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีเนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ  50  พรรษา  ในปีพุทธศักราช  2548  จำนวน  20  ชิ้น  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม เป็นกล้องถ่ายภาพดิจิตอล  ตามแบบที่กำลังเป็นที่นิยมของวงการถ่ายภาพแห่งยุคสมัย การเปรียบเทียบทางความงามของรูปแบบประติมากรรม ที่ได้จัดสร้างตั้งแต่ยุคแรกเริ่มจนถึงยุคอนาคต  ได้แบ่งผลงานที่สร้างออกเป็น 5 ยุค  จากข้อมูลเชิงลึกที่ได้มาจากการสืบค้น  และการเปรียบเทียบความแตกต่างทางความเชื่อ รูปแบบ และกลวิธี ในการสร้างสรรค์ผลงานได้สังเกตพิจารณาจากวัตถุจริง และได้เชื่อมโยงเข้ากับข้อมูลที่ได้สืบค้นมา  สรุปเป็นผลวิเคราะห์ถึงรูปแบบและสถานที่  ที่ควรจะรังสรรค์สร้างในอนาคต  ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
                1.  ยุคแรกเริ่ม  เป็นการสร้างสรรค์จากความเชื่อในเรื่องราวที่เล่าขานสืบต่อกันมาเป็นตำนาน  ผสานเข้ากับแนวความคิดของศิลปินสมัยใหม่  จัดสร้างตามกลวิธีสมัยใหม่  ในปี พ.ศ. 2509
                2.  ยุคที่สอง  เป็นการสร้างสรรค์จากความเชื่อในเรื่องราวที่เล่าขานสืบต่อกันมาเป็นตำนาน  ผสานเข้ากับแนวความคิดของศิลปินสมัยใหม่  จัดสร้างตามกลวิธีสมัยใหม่ ในปี พ.ศ. 2543
                3.  ยุคที่สาม  เป็นการสร้างสรรค์จากวิถีชีวิตของสัตว์ในพื้นที่แวดล้อม  ผสานเข้ากับแนวความคิดของศิลปินสมัยใหม่  จัดสร้างตามกลวิธีสมัยใหม่  ในปี พ.ศ. 2548
4.  ยุคที่สี่  เป็นการสร้างสรรค์จากความเชื่อส่วนบุคคลของศิลปินสมัยใหม่ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ  ความรัก  ความผูกพัน  และความเจริญงอกงาม  อันเป็นสาระสำคัญของชีวิตในปี  พ.ศ. 2548
5.  ยุคที่ห้า  เป็นการสร้างสรรค์จากความเชื่ออย่างอิสระของศิลปินผู้สร้างที่สัมพันธ์กับบริบททางวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อม  และของโลกศิลปะแห่งยุคสมัย ในปี พ.ศ. และสถานที่ซึ่งได้รับการอนุมัติให้จัดสร้างตามที่จะได้นำเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณา
Fulltext ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU