หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
ปัจจัยทางกายภาพ-เคมีที่มีผลต่อคุณภาพน้ำบริเวณสวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่จังหวัดสงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
Factor of physio-chemical properties on water quality hatyai city municipality park Songkhla province
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
นางสาว วรลักษณ์ จันทร์ศรีบุตร
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
ปีงบประมาณ
2549
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
1 ปี
งบประมาณ
ไม่ระบุ
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
ไม่ระบุ
สถานะของผู้ประสานงาน
ไม่ระบุ
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
กายภาพ, เคมี, คุณภาพน้ำ, กรด, ด่าง
บทคัดย่อ
การศึกษาทางกายภาพ-เคมี ที่มีผลต่อคุณภาพน้ำบริเวณสวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาระหว่างเดือนธันวาคม 2549 - มกราคม 2550 โดยทำการตรวจวัดและวิเคราะห์เป็นเวลา 2 เดือน จำนวน 3 ครั้ง โดยทำการวิเคราะห์คุณภาพน้ำทั้งกายภาพ-เคมี ซึ่งกำหนดจุดเก็บตัวอย่างทั้งหมด 5 จุดเก็บ วิเคราะห์ 11 พารามิเตอร์ดังต่อไปนี้ คือ ความลึก (Depth) ความขุ่น (Turbidity) ความนำไฟฟ้า (Conductivity) ความเป็นกรด-ด่าง (pH) อุณภูมิ (Temperature) ออกซิเจนละลายน้ำ (Dissolved Oxygen) ค่าบีโอดี (Biochemical Demand) ของแข็งแขวนลอยทั้งหมด (Total Suspended Solids) ไนโตรเจน (Nitrogen) ฟอสเฟต (Phosphate) แอมโมเนีย (Ammonia)
ผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำพบว่า ความลึกมีค่าเฉลี่ย 3.98 เมตร ความขุ่นมีค่าเฉลี่ย 40.35 เอ็นทียู ความนำไฟฟ้ามีค่าเฉลี่ย 72.25 ไมโครซีเมนต์ต่อเซ็นติเมตร ความเป็นกรด-ด่าง มีค่าเฉลี่ย 6.18 อุณหภูมิมีค่าเฉลี่ย 26.75 องศาเซลเซียส ค่าของของแข็งแขวนลอยมีค่าเฉลี่ย 217 มิลลิกรัมต่อลิตร ออกซิเจนละลายมีค่าเฉลี่ย 6.44 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าบีโอดีมีค่าเฉลี่ย 0.9 มิลลิกรัมต่อลิตร ไนโตรเจนมีค่าเฉลี่ย 3.17 มิลลิกรัมต่อลิตร ฟอสเฟสมีค่าเฉลี่ย 0.04 มิลลิกรัมต่อลิตร และแอมโมเนียมีค่าเฉลี่ย 1.21 มิลลิกรัมต่อลิตร
ปัจจัยทางกายภาพ-เคมีของน้ำบริเวณสวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ทั้ง 11 พารามิเตอร์พบว่า แอมโมเนียมีค่าเฉลี่ย 1.21 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ (เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดินกำหนดค่าแอมโมเนียไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร) เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นจุดชมสัตว์ เช่น นก ลิง ซึ่งสัตว์มีการขับถ่ายของเสียทำให้มีการปนเปื้อนของแอมโมเนียและมีการชะล้างปุ๊ยจากการทำสวนยางพาราปนเปื้อนลงมาทำให้มีปริมาณแอมโมเนียในแหล่งน้ำมากขึ้น อีกทั้งลักษณะของสระน้ำที่มีความลึกมากจะทำให้ปริมาณแอมโมเนียมีค่าสูงไปด้วย (สมยศ เดชภิรัชตนมงคล และสามารถ อยู่สุขยิ่งสภาพร, 2539) รวทั้งคุณสมบัติบางประการของน้ำ เช่นระยะเวลาในการกักเก็บน้ำและการปนเปือนของสารเคมี ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปริมาณแอมโมเนียเพิ่มขึ้นได้ (อาภรณ์ ยิ่งยง, 2539) บริเวณที่มีการให้อาหารปลามีผลทำให้ค่าแอมโมเนียเพิ่มขึ้นซึ่งสดคล้องกับงานวิจัยของ อังสนา ฉั่วสุวรรณ และคณะ (2538) เมื่อแอมโมเนียลงสู่แหล่งน้ำจะมีผลต่อปลาและสัตว์น้ำอื่นโดยตรง คือทำให้เสียชีวิต pH ของน้ำเปลี่ยนแปลงสูงขึ้น ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำลดลง วงจรโซ่อาหารในระบบนิเวศเปลี่ยนแปลง
คุณภาพน้ำในสระน้ำบริเวณสวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จัดอยู่ในประเภทที่ 2 ตามมาตรฐานแหล่งน้ำผิวดิน (ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พศ.2535) ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่ได้รับทิ้งจากกิจกรรมบางประเภท และสามารถเป็นประโยชน์เพื่อการอุปโภคและบริโภค โดยต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคตามปกติและผ่านกระบวนการปรับปรุงคณะภาพน้ำทั่วไปก่อน การอนุรักษ์สัตว์น้ำ การประมล การว่ายน้ำและกีฬาทางน้ำ
ผลการวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรม SPSS ในการทดสอบหาค่าความแตกต่างแต่ละปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพน้ำของสระน้ำบริเวณสวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา คือ ปัจจัยทางเคมี ได้แก่ อแมโมเนีย (Ammonia) ซึ่งมีความแตกต่างทางนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05
Fulltext
ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU