ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย การศึกษาผลการพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน ภาษาไทยโดยใช้วิธีตอบสนองการสอน : Rtl
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ The Effect of Response to Instruction on Reading and Writing Skill

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการรศ.ดร. พัชรี จิ๋วพัฒนกุล

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย งบประมาณแผ่นดิน(วช.)
สาขาการวิจัย สาขาการศึกษา
ปีงบประมาณ 2553
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 1
งบประมาณ 261,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ -
สถานะของผู้ประสานงาน -
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ ทักษะการอ่านเขียน, วิธีตอบสนองการสอน RtI
บทคัดย่อ           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1.  ศึกษาสัดส่วนของนักเรียนจากผลการจัดการเรียนรู้แบบตอบสนองการสอน (Rtl)  2.  พัฒนาทักษะด้านการอ่าน การเขียนภาษาไทยของนักเรียน  3.  ศึกษาความพึงพอใจของครูในการจัดการเรียนรู้แบบตอบสนองการสอน (Rtl) กลุ่มตัวอย่างเลือกโดยวิธีการสุ่ม แบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่ผู้วิจัยกำหนดจำนวน 1 โรงเรียน  คือโรงเรียนเทศบาล 2 (อ่อนอุทิศ)  อำเภอเมือง  จังหวัดสงขลา  เป็นโรงเรียนที่มีนักเรียนชั้นประถมศึกษา 1 – 6 จำนวน 871 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่  1.  เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนานักเรียนที่มีปัญหาการอ่าน การเขียน  ภาษาไทยประกอบด้วย  แผนการสอนในระยะที่ 1 แผนการสอน(เสริม) ในระยะที่ 2 แผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)  ในระยะที่ 3 และ 2.  เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลการอ่าน  การเขียนภาษาไทยประกอบด้วยแบบคัดกรองเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 (ของศาสตราจารย์ผดุง  อารยะวิญญู) มีค่าความเชื่อมั่น 0.86 – 0.99 แบบประเมินการอ่านเป็นรายบุคคล (บันไดการอ่าน) และประเมินความพึงพอใจของครูโดยการสอนด้วยสิธีการตอบสนอง (Rtl)  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS และสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ

ผลการวิจัยพบว่า

1.       สัดส่วนของนักเรียนจากผลการจัดการเรียนรู้แบบตอบสนองการสอน (Rtl) ของนักเรียน ที่มีปัญหาการอ่าน  การเขียนภาษาไทย ระยะที่  1 :  ระยะที่ 2 :  ระยะที่ 3 เท่ากับ 80.60 : 12.40 : 7.00 
2.       คะแนนหลังการสอนในการพัฒนาทักษะการอ่าน  การเขียนภาษาไทยระยะที่ 3 ของนักเรียนทุกคนสูงกว่าก่อนการสอน  โดยภาพรวมเฉลี่ย 3.82
3.       คะแนนความพึงพอใจต่อการพัฒนาทักษะการอ่าน  การเขียนภาษาไทย  โดยวิธีการสอนแบบตอบสนองการสอนของคณาจารย์โรงเรียนเทศบาล 2 (อ่อนอุทิศ)  และผู้ช่วยวิจัย  โดยภาพรวมอยู่ในระดับพอใจมาก  โดยมีค่าเฉลี่ย(   )  เท่ากับ  4.54  และ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (S.D)  เท่ากับ  0.68
Fulltext ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU