ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย การจัดการแรงงานต่างด้าวในสถานประกอบการ กรณีศึกษาอุตสาหกรรมผลิตอาหารทะเล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ Management of Foreign Workers in the Establishmen of the Seafood Production Industry In Muang District, Songkhla Province

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการนางสาว พิราสินี ชัยคุณทวีโชติ
ผู้ร่วมวิจัยนางสาว มาธุรี อุไรรัตน์
ผู้ร่วมวิจัยรศ.ดร. สายฝน ไชยศรี
ผู้ร่วมวิจัยนาย วรสันต์ ถาวรประเสริฐ

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย งบวิจัยคณะ (เงินบำรุงการศึกษา)
สาขาการวิจัย สาขาสังคมวิทยา
ปีงบประมาณ 2555
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 1 ปี
งบประมาณ ไม่ระบุ
พื้นที่ทำการวิจัย ต.บ่อยาง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ -
สถานะของผู้ประสานงาน -
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ แรงงานต่างด้าว, สถานประกอบการ, อุตสากรรมผลิตอาหารทะเล
บทคัดย่อ        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของแรงงานไทยที่มีต่อแรงงานต่างด้าวและศึกษาแนวทางจัดการแรงงานต่างด้าวในสถานประกอบการ กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มแรงงานไทย จำนวน 275 คน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลในสถานประกอบการ จำนวน 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
       ผลการศึกษา พบว่า แรงงานไทยที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 51.6 มีอายุระหว่าง 26-30 ปี สถานภาพสมรส ส่วนใหญ่มีระดับการศึกษา ม.4-ม.6 / ปวช. มีช่วงเวลาการทำงานระหว่าง 08.00 - 17.00 น. มีระยะเวลาในการทำงาน 1-5 ปี ส่วนใหญ่อยู่ในตำแหน่งระดับปฏิบัติการ มีรายได้ต่อเดือน 10,000 บาทขึ้นไป ลักษณะงานเป็นงานรายวันมากที่สุด และส่วนใหญ่พอใจกับงานที่ทำ
       ความคิดเห็นของแรงงานไทยที่มีต่อแรงงานต่างด้าวในสถานประกอบการ จังหวัดสงขลา โดยภาพรวมพบว่า มีค่าเฉลี่ย 3.35 มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็นพบว่า ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ คิดว่าแรงงานต่างด้าวเข้ามาในประเทศมากขึ้น มีค่าเฉลี่ย 4.55 สำหรับความคิดเห็นที่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ สถานประกอบการควรอบรมความรู็ให้กับแรงงานต่างด้าว มีค่าเฉลี่ย 4.15 สถานประกอบมีหน่วยงานดูแลแรงงานต่างด้าวโดยเฉพาะ มีค่าเฉลี่ย 4.01 นายจ้างให้คำปรึกษาที่ดีเมื่อแรงงานต่างด้าวมีปัญหา มีค่าเฉลี่ย 3.87 ส่วนความคิดเห็นที่อยู่ในระดับน้อย ได้แก่ แรงงานต่างด้าวมีความจงรักภักดีต่อสถานประกอบการ มีค่าเฉลี่ย 2.32 และแรงงานต่างด้าวไม่ก่อปัญหาความวุ่นวายแก่สถานประกอบการ มีค่าเฉลี่ย 2.21
       จากการสัมภาษณ์ปัญหาจากแรงงานต่างด้าวในสถานประกอบการพบว่า แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าวที่ไม่ค่อยมีฝีมือ แรงงานบางส่วนขี้เกียจ บางส่วนขยันมีความรับผิดชอบ ประสิทธิภาพของผลงานจึงไม่ค่อยมีคุณภาพ แรงงานต่างด้าวที่ทำงานในสถานประกอบการมีการร้องเรียนเรื่องค่าตอบแทน และบางครั้งแรงงานต่างด้าวมีปัญหาการทะเลาะเบาะแว้งเล็กน้อยกับแรงงานไทย สำหรับแนวทางจัดการแรงงานต่างด้าวในสถานประกอบการได้แก่ทางสถานประกอบการมีการจัดค่าจ้างและสวัสดิการให้กับแรงงานต่างด้าวอย่างเท่าเทียมและเสมอภาคกับที่แรงงานไทยได้รับ รวมถึงด้านการบังคับใช้กฏเกณฑ์ การลงโทษ ระเบียบต่างๆในการปฏิบัติงานด้วย และสถานประกอบการมีการจัดให้ฝ่ายบุคคลทำหน้าที่ดูลให้คำปรึกษา แนะนำแก่แรงงานต่างด้าวในองค์กร
Fulltext ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU