หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
ปัจจัยที่ทำให้นักศึกษาติดเกมคอมพิวเตอร์ กรณีศึกษานักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตจังหวัดสงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
-
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
ผศ. สุพล เพชรานนท์
ผู้ร่วมวิจัย
รศ.ดร. สายฝน ไชยศรี
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
งบวิจัยคณะ (เงินบำรุงการศึกษา)
สาขาการวิจัย
สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์
ปีงบประมาณ
2553
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
1 ปี
งบประมาณ
ไม่ระบุ
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
ไม่ระบุ
สถานะของผู้ประสานงาน
ไม่ระบุ
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
นักศึกษา, เกมคอมพิวเตอร์, จังหวัดสงขลา
บทคัดย่อ
การวิจัย ปัจจัยที่ทำให้นักศึกษาติดเกมคอมพิวเตอร์ กรณีศึกษานักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตจังหวัดสงขลา วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของร้านเกมคอมพิวเตอร์ และพฤติกรรมการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาที่ติดเกมคอมพิวเตอร์ รวมถึงศึกษาปัจจัยที่ทำให้นักศึกษาติดเกมคอมพิวเตอร์ การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้มีการดำเนินการเป็น 2 ส่วน คือ การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพและ เชิงปริมาณ การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพดำเนินการโดยการใช้วิธีการสังเกตทั่วไป (General Observation) และการสัมภาษณ์ (interview) ในส่วนการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ มีขั้นตอนในการเก็บข้อมูล โดยการใช้แบบสอบถาม (Questionnaire)
ผลการวิจัย
1. สภาพทั่วไปของร้านเกมคอมพิวเตอร์
ร้านเกมในจังหวัดสงขลา มีร้านเกมที่จดทะเบียนถูกต้อง 535 ร้าน โดย อำเภอหาดใหญ่มีร้านเกมมากที่สุด คือ มีร้านเกมจำนวน 235 ร้าน รองลงมา คือ อำเภอเมืองสงขลา ซึ่งมีร้านเกมจำนวน 120 ร้าน จะเห็นว่าใน 535 ร้าน ตั้งอยู่ในเขตที่มีสถาบันการศึกษา 355 ร้าน ถือว่ามีจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีร้านเกมเถื่อน ที่แอบเปิดหรือแฝงกับธุรกิจหอพัก ส่วนใหญ่เปิด-ปิดร้านมากกว่า 20 ชั่วโมง ลักษณะร้านเกมเป็นร้านเกมคาเฟ่ เป็นอาคารพาณิชย์ 2-3 ชั้น ตั้งแต่ 1-3 คูหา หน้าร้านตกแต่งชัดเจนว่าเป็นร้านเกม และมีป้ายตัวอักษรแสดงอัตราค่าบริการชัดเจน ภายในร้านมีเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้บริการเฉลี่ยร้านละ 30-60 เครื่อง ใช้เก้าอี้มีพนักพิง สามารถปรับสูง-ต่ำได้และหุ้มเบาะอย่างดี รับลูกค้าได้เต็มที่ 40-100 คน มีนักเรียน นักศึกษานั่งเล่นเกมเต็มทุกตัว ร้านเกมแต่ละร้านจะแข่งขันกันที่การให้บริการ Internet ความเร็วสูง ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย มีอุปกรณ์ครบ เช่น กล้องสำหรับเล่น Web cam ลำโพง เป็นต้น อัตราค่าบริการและการส่งเสริมการขาย และพบว่าทุกร้านมักจะมีโปรโมชั่นจูงใจลูกค้าหลายวิธี เช่น การเพิ่มชั่วโมงการเล่นเกม การให้สิทธิพิเศษที่สามารถเพิ่มคะแนนให้แก่ผู้เล่นในร้าน ทำให้ Level ลูกค้าสูงขึ้น
2. พฤติกรรมการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาที่ติดเกมคอมพิวเตอร์
พฤติกรรมการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาที่ได้นำเสนอผลไแล้วนั้น มีแนวโน้มที่จะนำไปสู่พฤติกรรมติดเกม กลุ่มเสี่ยงก็คือ เพศชาย อายุต่ำกว่า 19 ปี ที่กำลังศึกษาชั้นปีที่ 1 ทั้งที่เป็นนักศึกษาต่างจังหวัดที่มาพักกับญาติพี่น้องและอาศัยอยู่ใกล้ร้านเกม จะเล่นเกม 35- วันต่อสัปดาห์ เฉลี่ย 8.5 ชั่วโมงต่อวัน การใช้ชีวิตประจำวันของนักศึกษาติดเกม จะใช้เวลาเกือบทั้งหมดกับการเล่นเกม ซึ่งทำให้หน้าที่ประจำบกพร่อง เช่น ไปเรียนสาย ไม่เข้าชั้นเรียน และไม่สนใจกิจกรรมอื่นๆ โดยมีมุมมองเกี่ยวกับการเล่นเกมว่าเป็นสิ่งที่ดี ทำให้สนุก ช่วยคลายเครียด เป็นการฝึกทักษะคอมพิวเตอร์ เป็นคนทันสมัย ทันเทคโนโลยี สำหรับแนวโน้มในอนาคตนั้น การเล่นเกมจนไม่สนใจการเรียน ทำให้ต้องหยุดเรียนไป มีผลต่อรากฐานของการศึกษา และการพัฒนาตนเอง และมีปัญหาอื่นๆตามมา เช่น ปัญหาครอบครัว ปัญหาการศึกษา ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสังคม และก่อให้เกิดปัญหาระดับประเทศ
3. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ให้นักศึกษาติดเกมคอมพวิเตอร์
สำหรับปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจในการเล่นเกมนั้น ประกอบด้วย ปัจจัยด้านเหตุผล ได้แก่ เนื้อหาของเกม การออนไลน์กับบุคคลอื่น โปรโมชั่นน่าสนใจ รูปแบบการสร้างสถานการณ์จำลองและการเข้าถึงเกม และปัจจัยด้านอารมณ์ คือ สนุกสนาน ความท้าทาย ลดความเครียด เพื่อนแนนำ(เล่นตามเพื่อน) และความตื่นเต้นเร้าใจจากเกม นอกจากนี้ร้านเกมก็มีส่วนสำคัญ เพราะหากร้านเกมตั้งอยู่บนเส้นทางที่เข้าถึงได้ง่าย สะดวกสบาย ค่าบริการไม่แพง มีรูปแบบการขายที่จูงใจ เป็นต้น หลายคนเล่นเกมเกือบ 24 ชั่วโมง กินนอนในร้านเกม ซึ่งถือเป็นการเริ่มเสพติด ยิ่งเมื่อการพยายามเป็นผลทำให้เราเล่นเก่งขึ้น เกิดการยอมรับในสังคมในเกม ทุกคนรู้จัก ก็จำทำให้เกิดความภูมิใจ ซึ่งในโลกความเป็นจริงบุคคลเหล่านี้เป็นคนที่ไม่มีใครยอมรับ แม้แต่ครอบครัว
Fulltext
ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU