หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
การศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของไวน์จากผลไม้ท้องถิ่นภาคใต้
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
Physical and Chemical properties and Antioxidant Activity of Wines from Native Plants Southern Thailand
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
ผศ.ดร. เสน่ห์ แก้วนพรัตน์
ผู้ร่วมวิจัย
รศ.ดร. นัฏฐา แก้วนพรัตน์
ผู้ร่วมวิจัย
นางสาว วาสนา มู่สา
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
ปีงบประมาณ
2550
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
1 ปี
งบประมาณ
ไม่ระบุ
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
ไม่ระบุ
สถานะของผู้ประสานงาน
ไม่ระบุ
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
คุณสมบัติทางกายภาพ , คุณสมบัติทางเคมี,ไวน์จากผลไม้
บทคัดย่อ
นำไวน์ 4 ชนิด คือไวน์มะม่วงหิมพานต์ ไวน์มะเม่า ไวน์กำชำ และไวน์หว้า ที่ผลิตได้จากโครงการที่ 1"สภาวะที่เหมาะสมในการผลิตไวน์จากผลไม้ท้องถิ่นภาคใต้" โดยผ่านการหมักที่อุณหภูมิ 25
0
ซ.เป็นเวลา 4 เดือน มาศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ พบว่า ไวน์ผลไม้ทั้ง 4 ชนิดมีลักษณะความใสที่ดีแต่มีความขุ่นมัวเล็กน้อย สีเป็นไปตามลักษณะผลไม้ที่ใช้ผลิต ไวน์มะม่วงหิมพานต์มีสีเหลืองอ่อนค่อนไปทางสีทอง ไวน์มะเม่าสีม่วงแดงค่อนข้างทึบ ไวน์กำชำมีสีส้มแดง และไวน์หว้ามีสีส้มแดงเข้มกว่าไวน์กำชำ มีกลิ่นหอมอ่อนๆของผลไม้ที่ใช้ผลิต และไวน์มะม่วงหิมพานต์มีกลิ่นที่เด่นชัด รสชาติของไวน์ทุกชนิดมีความกลมกล่อมดี มีความคงตัว คุณภาพโดยรวมเป็นที่ยอมรับจากผู้เชี่ยวชาญเรื่องไวนื สำหรับคุณสมบัติทางเคมี ไวน์ทุกชนิดมีพีเอชอยู่ในช่วง 3.65-4.42 ความเข้มข้นของเอทธานอลเท่ากัน คือ 11.7% โดยปริมาตร ตรวจไม่พบเมทธานอล ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ สารหนู อัลดีไฮด์ และน้ำตาล ตรวจพบทองแดงอยู่ในช่วง 0.10-0.03 มก./ลิตร เหล็กอยู่ในช่วง 0.23-2.7 กรัม/ลิตร ตะกั่วอยู่ในช่วง 0.02-0.10 มก./ลิตร ปริมาณกรดทั้งหมดอยู่ในช่วง 0.23-2.7 กรัม/ลิตร ปริมาณของแข็งทั้งหมด อยู่ในช่วง 0.33-13.9 กรัม/ลิตร คุณสมบัติทางกายภาพและคุณสมบัติทางเคมีทั้งหมดผ่านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.๒/๒๕๔๖)ไวน์ผลไม้ ไวน์ทุกชนิดมีฤทธฺ์ในการต้านอนุมูลอิสระได้ดีจากการทดสอบกับสารที่ทำให้เกิดอนุมูลอิสระคือ DPPH (2,2-dipheny-1-picrylhydrazyl) เทียบกับ Trolox (TE) พบว่าไวน์กำชำมีฤทธิ์อนุมูลอิสระได้ดีที่สุด 55 (µgTE) รองลงมาคือ ไวน์มะเม่า (47 µgTE) ไวน์หว้า (29 µgTE) และไวน์มะม่วงหิมพานต์มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระต่ำสุดคือ (17 µgTE) ซึ่งฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของไวน์กำชำมีค่าสูงกว่าของไวน์แดงยี่ห้อ Santa Alicai (51 µgTE) จากประเทศออสเตรเลีย ส่วนไวน์อย่างอื่นมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระรองลงมา
Fulltext
ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU