ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย พฤติกรรมการสูบบุหรี่ในสถานประกอบการ จังหวัดสงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ Smoking behavior The establishment of Songkhla Province

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการรศ.ดร. สายฝน ไชยศรี
ผู้ร่วมวิจัยนางสาว พิราสินี ชัยคุณทวีโชติ

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย งบวิจัยคณะ (เงินบำรุงการศึกษา)
สาขาการวิจัย สาขาสังคมวิทยา
ปีงบประมาณ 2554
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 1 ปี
งบประมาณ ไม่ระบุ
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ ไม่ระบุ
สถานะของผู้ประสานงาน ไม่ระบุ
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ การสูบบุหรี่, สถานประกอบการ, พฤติกรรม, จังหวัดสงขลา
บทคัดย่อ        การศึกษางานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรีในสถานประกอบการ จังหวัดสงขลา  เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ทัศนคติต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่และแนวทางการจัดการปัญหาการสูบบุหรี่ในสถานประกอบการ จังหวัดสงขลา
       ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการสุ่มสถานประกอบการด้วยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 8 สถานประกอบการที่สมัครใจให้ข้อมูล ซึ่งผู้วิจัยได้กำหนดเกณฑ์ของกลุ่มตัวอย่างคือ เป็นพนักงานของสถานประกอบการ ในจังหวัดสงขลา ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป และเป็นผู้ที่สูบบุหรี่ จำนวน 300 คน นอกจากนี้ผู้วิจัยทำการสุ่มสถานประกอบการ 2 แห่ง เพื่อทำการสัมภาษณ์กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

ผลการวิจัย

       กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 25-35 ปี มีสถานภาพสมรส การศึกษาส่วนใหญ่จบระดับปริญญาตรี ทำงานตำแหน่งพนักงาน สังกัดแผนก/ฝ่ายผลิต คิดเป็นร้อยละ 21.0 รองลงมาสังกัดแผนก/ฝ่ายรักษาความปลอดภัย มีรายได้ระหว่าง 5,001-10,000 บาท อาศัยอยู่กับคู่สมรส คิดเป็นร้อยละ 28 มีคนใกล้ชิดที่สูบบุหรี่ ซึ่งประกอบด้วยบุคคลดังนี้คือ เพื่อน รองลงมา คือ ญาติพี่น้อง/บิดา มารดา และไม่มีคนใกล้ชิดที่สูบบุหรี่
       พฤติกรรมการสูบบุหรี่ในสถานประกอบการส่วนใหญ่เริ่มสูบบุหรี่ครั้งแรกอายุระหว่าง 15-19 ปี ส่วนใหญ่มีเหตุจูงใจที่ทำให้เริมสูบบุหรี่เพราะอยากทดลองสูบ รองลงมาสูบตาม อันดับ 3 เพื่อผ่อนคลายความเครียดและความวิตกกังวล เหตุจูงใจในการสูบบุหรี่ต่อเนื่องส่วนใหญ่เพื่อผ่อนคลายความเครียดและความวิตกกังวลมากที่สุด ระยะเวลาในการสูบบุหรี่มากทึ่สุด คือ ระยะเวลา 1-5 ปี ช่วงเวลาที่สูบบุหรี่ส่วนใหญ่เมื่อเครียด อันดับสองเมื่ออยู่กับเพื่อน อันดับสามก่อนหรือหลังรับประทานอาหาร คิดเป็นร้อยละ 53  ส่วนใหญ่สูบบุหรี่ต่ำกว่า 10 มวน/วัน ลักษณะการสูบบุหรี่ส่วนใหญ่สูบแบบจนหมดมวน สถานที่ส่วนใหญ่ที่มักสูบบุหรี่คือ บริเวณใต้ต้นไม้ อันดับสอง ในสถานที่สำหรับสูบบุหรี่ อันดับสามในห้องน้ำ ส่วนใหญ่มีรายจ่ายในการซื้อบุหรี่วันละ 25-50 บาท สูบบุหรี่ที่ผลิตในประเทศมากที่สุด  ซื้อบุหรี่จากร้านค้าเล็กๆในท้องถิ่น  ส่วนใหญ่เคยสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่หรือมีป้ายห้ามสูบบุหรี่ ส่วนใหญ่ทราบถึงโทษของบุหรี่ในระดับปานกลาง ได้รับความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากการสูบบุหรี่ โดยรับความรู้จากสื่อโทรทัศน์/วิทยุ ส่วนใหญ่ไม่เคยพยายามเลิกสูบบุหรี่ ส่วนใหญ่ไม่เคยวางแผนในการเลิกสูบบุหรี่ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความต้องการในการเลิกสูบบุหรี่ เนื่องด้วยกลัวเป็นโรคมะเร็งปอดมากที่สุด  ส่วนใหญ่มีความต้องการให้หน่วยงานช่วยเหลือในการเลิกสูบบุหรี่ 
       สำหรับการสัมภาษณ์ในเรื่องแนวทางการจัดการปัญหาการสูบบุหรี่สถานประกอบการมีการวางกฏเกณฑ์ระเบียบในการควบคุมการสูบบุหรี่ของพนักงาน  โดยจะมีฝ่ายหรือแผนกที่ทำหน้าที่ในการ ซึ่งทางสถานประกอบการมีการติดป้ายและสัญลักษณ์ห้ามสูบบุหรี่ในบริเวณสถานประกอบการ และมีการจัดพื้นที่เฉพาะไว้สำหรับให้พนักงานสามารถสูบบุหรี่ได้ ทางสถานประกอบการเองได้มีการอบรมเรื่องเกี่ยวกับบุหรี่และยาเสพติดเพื่อให้พนักงานได้ทราบและเข้าใจถึงโทษและพิษภัยจากการสูบบุหรี่ การป้องกันเรื่องบุหรี่และยาเสพติด มีหน่วยพยาบาลในสถานประกอบการเพื่อให้คำปรึกษาแก้ปัญหาเรื่องบุหรี่และสุขภาพ  มีกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกรณรงค์ต่อต้านเรื่องบุหรี่และยาเสพติด
Fulltext ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU