หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
การออกแบบชุดย่อยอาหารทะเลเพื่อเตรียมตัวอย่างในการวิเคราะห์สารหนูด้วยชุดทดสอบภาคสนาม
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
Seafood Digestion Kit Design for Sample Preparation of Arsenic Determinatetion by Field Test Kit
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
ผศ.ดร. จารุวรรณ คำแก้ว
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
โครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานรากเครือข่ายวิจัยภาคใต้ตอนล่าง (สกอ.)
สาขาการวิจัย
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
ปีงบประมาณ
2552
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
1 ปี
งบประมาณ
ไม่ระบุ
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
ไม่ระบุ
สถานะของผู้ประสานงาน
ไม่ระบุ
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
สารหนู, ชุดทดสอบ, อาหารทะเล
บทคัดย่อ
ในโครงการวิจัยนี้ได้นำชุดทดสอบสารหนูทั้งหมดที่พัฒนาโดยภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มาประยุกต์ใช้ตรวจหาปริมาณสารหนูทั้งหมดในตัวอย่างกุ้งแห้ง ในการวิเคราะห์ได้ใช้ขวดแก้วเป็นขวดทำปฏิกิริยาแทนขวดพลาสติกที่แนบมาในชุดทดสอบ โดยออกแบบให้เป็นรูปทรงกระบอกที่มีคอขวดยาว และขวดสูง 8 ซม. ซึ่งเป็นขวดที่สามารถตรวจวัดปริมาณสารหนูทั้งหมดได้ดีที่สุดเมื่อเทียบกับขวดอื่นๆ ที่มีรูปแบบเดียวกันแต่มีความยาวของคอขวดมากกว่า การตรวจวัดสารหนูในตัวอย่างกุ้งแห้งได้เปรียบเทียบเทคนิควิเคราะห์ 3 วิธี ได้แก่ การใช้ชุดทดสอบที่ใช้ขวดแก้วทำปฏิกิริยาที่ออกแบบ เทคนิค Spectrophometry ที่ใช้วิธีโมลิบดินัมบลู และเทคนิค ICP-OES โดยได้ศึกษาและเปรียบเทียบผลของการเติมและไม่เติม มาสกิงเอเจนต์ลงในตัวอย่างกุ้งแห้งก่อนการวิเคราะห์ เพื่อลดปัญหาการรบกวนจากสัญญาณพื้นหลังที่เป็นอัลคาไลน์ และอัลคาไลน์เอิร์ธ จากการศึกษาพบว่า การเติม DTPA ซึ่งเป็นมาสกิงเอเจนต์ที่เหมาะสมลงไปในตัวกุ้งแห้ง จะสามารถตรวจหาปริมาณสารหนูได้มากกว่าไม่เติม DTPA โดยที่ปริมาณสารหนูในตัวอย่างชนิดเดียวกันที่ตรวจวัดจากแต่ละเทคนิค มีค่าใกล้เคียงกัน และแสดงแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน ดังนี้ <5 ppb, 4.21 ppb และ 3.51 ppb ตามลำดับ เมื่อไม่เติม DTPA ในขณะที่สารหนูในกุ้งแห้งที่เดิม DTPA ตรวจวัดในช่วง 5-10 ppb, 5.13 ppb และ 4.38 ppb ตามลำดับ
Fulltext
ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU