ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย รองเง็ง : วัฒนธรรมดนตรีจังหวัดสตูล
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ Rong-ngeng : Music Culture of satun Province

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการผศ. ประภาส ขวัญประดับ

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย สาขาสังคมวิทยา
ปีงบประมาณ 2553
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 1 ปี
งบประมาณ 0 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ ไม่ระบุ
สถานะของผู้ประสานงาน ไม่ระบุ
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ รองเง็ง, วัฒนธรรม, จังหวัดสตูล
บทคัดย่อ    งานวิจัยเรื่อง รองเง็ง:วัฒนธรรมดนตรีจังหวัดสตูล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของวัฒนธรรมดนตรีรองเง๊งในภาคใต้ ศึกษาประวัติคณะดนตรีรองเง็งในจังหวัดสตูล วิเคราะห์องค์ประกอบดนตรีรองเง็งในจังหวัดสตูล
   ผลการวิจัยแบ่งได้ตามวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
   1. พัฒนาการของวัฒนธรรมดรตรีรองเง็งในภาคใต้
   ผลการวิจัยพบว่า ในอดีตภาคใต้ของไทยเคยเป็นเส้รทางการค้าขายของชนชาติต่างๆ ได้แก่ อินเดีย โปรตุเกส สเปนและฮอลันดา ความสัมพันธ์ทางการค้าและ การติดต่อระหว่างชนชาติต่างๆทำให้เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรม
   2. ประวัิติคณะดนตรีรองเง็งในจังหวัดสตูล
   จากการเก็บข้อมูลภาคสนาม พบว่าในปัจจุบัน คณะรองเง็งในจังหวัดสตูลที่ผงงานการแสดงที่โดดเด่นมี 3 คณะ คือ 
      2.1 คณะบ้านบางประจัน ตำบลบางประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
      คณะรองเง็งบ้านบางประจัน หัวหน้าคณะ คือ นายกูมาฮุดดีน สตอหลง บิดาของท่านมีความสามารถในการขับร้องและเต้นรองเง็ง ท่านจึงมีความสนใจการแสดงรองเง็งและได้หัดเล่นดนตรีรองเง็งจนมีความสามารถในการเล่นไวโอลีน การขับร้องและการเต็นรองเง็ง
      2.2 คณะศรีปากบางละงู ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล 
      คณะรองเง็งศรีปากบางละงู เป็นคณะรองเง็งเก่าแก่ของจังหวัดสตูล หัวหน้าคณะ คือ นายฉาเหตุ งามสง่า ท่านเป็นนักไวโอลีนมีประสบการณ์ในการเล่นดนตรีรองเง็ง คณะรองเง็งศรีปากบางละงูเป็นคณะรองเง็งที่มีประวัติและผลงานมายาวนานและยังคงอนุรักษ์ดนตรีรองเง็งของจังหวัดสตูล
      2.3 คณะนายล๊ะ หาบยูโซ๊ะ ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
      หัวหน้าคณะ คือ นายล๊ะ หาบยูโซ๊ะ ประวัติท่านสนใจดนตรีรองเง็งตั้งแต่วัยเด็กมีความสามารถในการเล่นไวโอลีน รำมะนาและการขับร้อง ปัจจุบันท่านมีอายุมากจึงหยุดรับงานแสดง
    3. องค์ประกอบดนตรีรองเง็งในจังหวัดสตูล   
    จากการวิเคราะห์ดนตรีรองเง็งในจังหวัดสตูลพบว่ามีองค์ประกอบทางดนตรีดังต่อไปนี้
        3.1 องค์ประกอบของทำนอง ประกอบด้วย
               - บันไดเสียงเดียโตนิคเมเจอร์ (Diatonic Mzjor)
               - มีการซ้ำของทำนอง (Repetition)
               - มีท่องจบของทำนอง (Ending) ที่มีลักษณะเฉพาะ
         3.2 องค์ประกอบของจังหวะ ประกอบด้วย      
               - อัตราจังหวะ 2/4
          3.3 โครงสร้างของดนตรี    
                - โครงสร้างแบบ sing form
   
Fulltext ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU