ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย ความสัมพันธ์ระหว่างการปรับตัวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน:ศึกษากรณีการเรียนวิชาบัญชีของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ The Relationship Between The Adaptability And The Grades OF Accountancy Students In The Faculty of Management Sciences Rajabhat Songkhla University.

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการผศ. สุพยอม นาจันทร์

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย งบวิจัยคณะ (เงินบำรุงการศึกษา)
สาขาการวิจัย สาขาการศึกษา
ปีงบประมาณ 2551
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 1 ปี
งบประมาณ 0 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ ไม่ระบุ
สถานะของผู้ประสานงาน ไม่ระบุ
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, บัญชี, ความสัมพันธ์
บทคัดย่อ        การวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการปรับตัวกับผลสัมฟทธิ์ทางการเรียน:กรณีศึกษาการเรียนวิชาบัญชีของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา  มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ  1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการปรับตัวทางวิชาการกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการปรับตัวกับเพื่อนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ  3) เพื่อนำผลการวิจัยมาปรับปรุงการเรียนการสอน
       ประชาการที่ใช้ในการศึกษา คือนักศึกษาภาคปกติสาขาการบัญชี ระดับปริญญาตรี 4 ปี ชั้นปีที่ 3 (รุ่นเข้าเรียนปีการศึกษา 2549) จำนวน 34 คน  เครื่องมือที่าใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ประกอบด้วย 3 ตอน ตอนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับนักศึกษา ตอนที่ 2 การปรับตัวทางวิชาการ และตอนที่ 3 การปรับตัวกับเพื่อน
       ผลการศึกษา  พบว่า  พื้นฐานการศึกษา เกรดเฉลี่ยในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า รวมทั้งที่พักอาศัยในระหว่างเรียนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ไม่มีผลต่อระดับคะแนนการเรียนวิชาบัญชี  นอกจากนี้ระดับของการปรับตัวกับเพื่อนก็ไม่มีผลต่อระดับคะแนนการเรียนวิชาบัญชีเช่นเดียวกัน
       สำหรับระดับการปรับตัวทางวิชาการพบว่า  มีผลโดยตรงต่อระดับคะแนนการเรียนวิชาบัญชี  นักศึกษามีระดับการปรับตัวทางวิชาในด้านต่างๆ อยู่ในระดับปานกลางเป็นส่วใหญ่  การส่งเสริมให้นักศึกษามีการปรับตัวทางวิชาการในระดับที่สูงขึ้น  จึงเป็นแนวทางที่จะช่วยให้ผลการเรียนวิชาบัญชีของนักศึกษาดีขึ้น  ได้แก่  การเตรียมตัวด้านเนื้อหาก่อนเข้าชั้นเรียน  การค้นคว้าอยู่เสมอ  การใช้เวลาว่างในการอ่านตำราเรียน  การค้นคว้าตามคำแนะนำของผู้สอน  การปรับตัวให้เข้ากับวิธีการสอน  ความไม่รู้สึกเบื่อหน่ายกับการเรียน  การไม่รู้สึกว่าเรียนหนักเกินไป  การมีความสุขกับการเรียน  ความสามารถในการฟังบรรยายนานๆ 
       ส่วนการวางแผนการเรียนล่วงหน้า  การติดตามการบรรยายตลอดเวลา  การเตรียมตัวสอบ  การแก้ไขข้อบกพร่องในการเรียน  และการเข้าร่วมกิจกรรมของคณะ  นักศึกษาสามารถปรับตัวได้ในระดับดีมากอยู่แล้ว  นักศึกษาจึงควรคงส่วนนี้ไว้  อาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ที่ปรึกษา  ควรให้คำแนะนำแก่นักศึกษาเพื่อยกระดับผลการเรียนวิชาบัญชีให้ดีขึ้น  เมื่อผลการเรียนดีขึ้น  ปัญหาการพ้นสภาพจากการเป็นนักศึกษาเนื่องจากเกรดเแลี่ยสะสมต่ำกว่าเกณฑืที่มหาวิทยาลัยกำหนด  หรือบางคนอาจจะหมดกำลังใจถึงกับเปลี่ยนสาขาที่เรียนใหม่  หรือถึงขั้นลาออก  ก็จะลดลงหรือหมดไปในที่สุด
       สุดท้ายผู้วิจัยขอเสนอแนะประเด็นต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนวิชาบัญชีไว้ 3 ประการ ดังนี้
       1. ผู้สอนต้องชี้แจงให้เรียนทราบถึงวิธีการเรียนในระดับอุดมศึกษาซึ่งแตกต่างกับการเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า  เนื่องจากผู้เรียนจะต้องศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองมากขึ้น  โดยเฉพาะการเรียนสาขาการบัญชี  การทำแบบฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง  เป็นเรื่องสำคัญที่สุด  ครูไม่ใช่ผู้ป้อน  แต่ครูจะเป็นเพียงผู้ชี้แนะเท่านั้น  การปรับตัวให้เข้ากับวิธีการเรียนการสอนเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง
       2. ผู้สอนควรมีเทคนิคการสอนที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกว่าการเรียนวิชาบัญชีไม่ใช่เป้นเรื่องยากเท่าที่คิด  ควรออกแบบการเรียนการสอนโดยใช้วิธีเพื่อนช่วยเพื่อน  ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยในครั้งนี้คือ  นักศึกษาไม่มีปัญหาในการปรับตัวเข้ากับเพื่อน  เพื่อนสอนเพื่อน  นักศึกษาจะรู้สึกผ่อนคลายมากกว่าการเรียนกับอาจารย์ผู้สอนในชั้นเรียน  กล้าถามเพื่อนมากกว่าถามอาจารย์
       3. ผู้สอนควรให้คำแนะนำ/ชี้แจง  แก่ผู้เรียนให้ทราบว่าการปรับตัวทั้งทางวิชาการคือวิธีการเรียนการสอน  และการปรับตัวต่อเพื่อนๆ มีความจำเป็นมากในการเรียนระดับอุดมศึกษาให้ประสบความสำเร็จ การปรับตัวได้ดีจะส่งผลในเชิงบวกต่อการเรียน


Fulltext ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU