ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย การศึกษาวิเคราะห์ภูมิปัญญาที่ปรากฏในบทหนังตะลุงของหนังฉิ้น อรมุต:บทหนังตะลุงคัดสรร
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ An Analytical Study on Thai Wisdom in Nang Chin Auramut is Shadow Play:Select Works

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการนาย เกษม ขนาบแก้ว

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย สาขาสังคมวิทยา
ปีงบประมาณ 2551
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 1 ปี
งบประมาณ 150,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ ไม่ระบุ
สถานะของผู้ประสานงาน ไม่ระบุ
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ หนังตะลุง, ภูมิปัญญา, หนังฉิ้น อรมุต
บทคัดย่อ        การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์จะศึกษาวิเคราะห์ภูมิปัญญาด้านต่างๆ ที่ปรากฏในบทหนังตะลุงของหนังฉิ้น อรมุต : บทหนังตะลุงคัดสรร  จำนวน 19 ด้าน  โดยสรุปเป็นภาพรวมเพื่อให้รู้จัก  เข้าใจภูมิปัญญาด้านดังกล่าว แต่ละด้านอย่างชัดเจน  ผลการศึกษาวิเคราะห์สรุปได้ดังนี้
       1. ภูมิปัญญาด้านการใช้รูปแบบคำประพันธ์  พบว่า  ผู้รจนาสามารถเลือกใช้รูปแบบคำประพันธ์ที่ถูกต้องเหมาะสมกับเนื้อหาเป็นอย่างดีถึง 18 ชนิด  ซึ่งมีทั้งกลอนสามัญและกลอนกลบท
       2. ภูมิปัญญาด้านการสร้างโครงเรื่อง  พบว่า  ผู้รจนาสามารถสร้างโครงเรื่องได้ดี เช่น มีความสลับซับซ้อน มีเหตุผล สมเหตุสมผล ก่อความกระหายใคร่รู้ และชวนติดตาม
       3. ภูมิปัญญาด้านการใช้คำ  พบว่า  ผู้รจนาสามารถเลือกใช้คำที่ดี ซึ่งทำให้การส่งสารมีความไพเราะ เหมาะสมและมีประสิทธิภาพหลายลักษณะ เช่น การให้คำสัมผัส การใช้คำภาษาไทยถิ่นใต้ การซ้ำคำ การหลากคำและการเล่นคำ
       4. ภูมิปัญญาด้านการใช้ภาพพจน์  พบว่า  ผู้รจนาสามารถใช้ภาพพจน์ได้ดัี มีความถูกต้อง ไพเราะ เหมาะสม มีประสิทธิภาพ 8 ลักษณะ คือ  1) อุปมา  2) อุปลักษณ์  3) อธินามนัย  4) บุคลาธิษฐาน  5) อติพจน์  6) การกล่าวประชดเสียดสี  7) การเท้าความ  8) การเลียนเสียงธรรมชาิ
       5. ภูมิปัญญษด้านการสร้างรสวรรณคดี  พบว่า  ผู้รจนาสามารถสร้างรสวรรณคดีได้ดีื  ทั้งการสร้างรสคดีตามทฤษฎีวรรณคดีไทยทั้ง 4 รส คือ  1) เสาวรจนี  2) นารีปราโมทย์  3) พิโรธวาทัง  4) สัลลาปังคภิสัย  และตามทฏษฎีของวรรณคดีทั้ง 9 รส คือ  1) ศฟงคารรส  2)หัสรส  3) รุทธรส  4) วีรรส  5) วิภัจฉรส  6) กรุณารส  7) อัพภูตรส  8) ภยานกรส  9 ศานติรส
       6.ภูมิปัญญาด้านการสอนทัศนะ  พบว่า  ผู้รจนาสามารถเนอทัศนคติที่ดี น่าสนใจ มีความไพเราะคมคายทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ปัญญา  วิจารณะญาณไม่น้อยกว่า 75 ประการ โดยใช้วิธีการที่เหมาะสมหลายวิธี
       7. ภูมิปัญญาด้านการสอนคุณธรรมและจริยธรรม  พบว่า  ผู้รจนาสามารถสอนคุณธรรมและจริยธรรม  ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนาแก่ผู้รับสารได้เป็นอย่างดี  มีประสิทธิภาพถึง 47 ประการ  โดยใช้วิธีการสอนที่เหมาะผมหลายวิธี
       8. ภูมิปัญญาด้านการถ่ายทอดพุทธธรรม  พบว่า  ผู้รจนาสามารถถ่านทอดพุทธธรรมซึ่งส่วนใหญ่เป็นพระพุทธพจน์สั้นๆ แก่ผู้รับสารได้เป็นอย่างดี  มีความไพเราะเหมาะสม  มีประสิทธิภาพถึง 36 ประการ  โดยใช้วิธีการถ่ายทอดที่เหมาะสมหลายวิธี
       9. ภูมิปัญญาด้านการใช้สำนวนไทย  พบว่า  ผู้รจนาสามารถใช้สำนวนไทยได้เป็ยอย่างดี คือ ถูกต้อง ตรงความหมาย มีความไพเราะและเหมาะสมกะับสถานการณ์นั้นๆ เป็นอย่างดีไม่น้อยกว่า 111 สำนวน
       10.ภูมิปัญญาด้านการสร้างบทเกี้ยวจอ  พบว่า  ผู้รจนาสามารถสร้างบทเกี้ยวจออันเป็นบทเกริ่นนำของหนังตะลุงได้ดี  ใช้รูปแบบคำประพันธ์ได้ถูกต้องเหมาะสมกับเนื้อหาซึ่งมีหลายลักษณะ เช่น ตั้งขอสังเกตุ  เสนอทัศนะ ปรัชญา พรรณาความงามของธรรมชาติ ศิลปะแบะวัฒนธรรม
       11.ภูมิปัญญาด้านการสร้างบทปรายหน้าบท  พบว่า  ผู้รจนาสามารถสร้างบทปรายหน้าบทอันเป็นบทไหว้ครูของหนังตะลุงได้เป็นอย่างดี เช่น ใช้รูปแบบคำประพันธ์ได้ถูกต้องเหมาะสมกับเนื้อหา  มีศิลปะในการใช้ภาษา  การบรรยาย  การอุปมาเปรียบเทียบ มีเนื้อหาดีเป็นระบบและสมบูรณ์
       12.ภูมิปัญญาด้านการสร้างบทอัศจรรย์  พบว่า  ผู้รจนาสามารถสร้างบทอัศจรรย์อันเป็นบทบรรยายพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของมนุษย์ซึ่งเป็นเรื่องปกปิด  แต่เป็นความจริงบางด้านของชีวิตได้เป็นอย่างดี คือ มีความไพเราะเหมาะสม ไม่ลามกหยาบคาย ได้ทั้งเรื่อง ทั้งรส และมีหลายบท
       13.ภูมิปัญญาด้านการสร้างบทชมธรรมชาติหรือบทชมป่า  พบว่า  ผู้รจนาสามารถสร้างบทธรรมชาติหรือบทชมป่าได้ดี  ทั้งด้านการใช้รูปแบบคำประพันธ์ซึ่งมีหลายชนิด เช่น กลอนสุภาพ  กลอนคำคอนหรือคำกลอนสี่ได้ดี  เหมาะสมกับเนื้อหา  การใช้ถ้อยคำภาษาที่เรียบง่าย  มีความหมายดี  มีความไพเราะ  เหมาะสม  คมคาย  สามารถให้ข้อมูล ความรู้ สติปัญญา ทัศนะ คติธรรม และความบันเทิงใจได้เป็นอย่างดีและมีหลายบท 
       14.ภูมิปัญญาด้านการสร้างบทบรรยายและบทพรรณา  พบว่า  ผู้รจนาสามารถสร้างบทบรรยายและบทพรรณาที่ดี มีประสิทธิภาพ คือ ถูกต้อง วิจิตร พิสดาร เหมาะสม คมคาย  ได้เรื่อง ได้รส ได้ภาพ ได้บรรยากาศเป็นอย่างดี ซึ่งมีทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง และปรากฏอย่างดาษดื่นเกือบทุกเรื่อง
       15.ภูมิปัญญาด้านการสร้างบทสนทนา  พบว่า  ผู้รจนาสามารถสร้างบทสนทนาได้ดีหลายประการหลายบท เช่น  1) มีความไพเราะ  2) เหมาะสมกับตัวละคร โอกาส สถานที่  3) แสดงให้เห็นบุคลิกลักษณะนิสัย วุฒิ วัย ฐานะ ภูมิหลังของตัวละคร  4) ช่วยให้เรื่องดำเนินไป  5) ช่วยใหเแลเห็นสภาพสังคม  6) มีบางบทที่สามารถบรรทึกอัตลักษณ์ของชาวบ้านภาคใต้ได้ดี
       16.ภูมิปัญญาด้านการบันทึกเหตุการณ์  พบว่า  ผู้รจนาสามารถบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อสังคมไทยเป็นวงกว้างได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพหลายประการ  โดยใช้วิธีการที่เหมาะสมหลายวิธี เช่น กล่าวถึง อ้างถึงเหตุการณ์เหล่า่นั้น การนำเหตุการณ์เหล่านั้นมาใช้ในผลงานของตน เป็นต้น
       17.ภูมิปัญญาด้านการสืบสานวัฒนธรรม  พบว่า  ผู้รจนาสามารถอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมของสังคมไทยไว้ได้เป็นอย่างดี  มีประสิทธิภาพหลายด้าน เช่น ด้านความเชื่อ การตั้งชื่อบ้านนามเมือง การกล่อมเด็ก การฟ้อนรำ การให้พร เป็นต้น  โดยใช้วิธีการอนุรักษ์สืบสานที่มีความเหมาะสม คือ กล่าวถึง อ้างถึง บอก อธิบาย หรือใช้วัฒนธรรมเหล่านั้นในผลงานของตน
       18.ภูมิปัญญาด้านการประยุกต์ใช้  พบว่า  ผู้รจนาสามารถประยุกต์ใช้ข้อมูล ความรู้ เหตุการณ์ต่างๆ เช่น เหตุการณ์นิกร-อรปวีณา  การวางแผนครอบครัว การแสดงภาพยนตร์ วรรณคดีบางเรื่อง บางตอน วัฒนธรรมการทำน้ำตาลโตนด การทำบุญเดือนสิบ เป็นต้น มาประยุกต์ใช้ได้เป็นอย่างดี มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
       19.ภูมิปัญญาด้านการแสดงบทตลก  พบว่า  ผู้รจนาสามารถสร้างบทตลกที่ดี นอกจากจะให้อารมณ์ตลกได้ดีแล้วยังเหมาะสมกับตัวละคร  ช่วยให้เรื่องดำเนินไปได้ด้วยดี  สามารถบันทึกและสะท้อนวิถีชีวิต ค่านิยม สภาพสังคม ลักษณะนิสัยของชาวบ้านภาคใต้ได้ดีไม่ลามกอนาจาร พอดี โดยใช้กลวิธีการสร้างบทตลกที่แยบยลอย่างยิ่ง 9 กลวิธีดังต่อไปนี้  1) การใช้คำ 2ความหมาย  2) การใช้คำ 2 แง่ 2มุม  3) การใช้คำผวน  4) การใช้สันชานไร้สารูป  5) การหักมุม  6) การเล่าเรื่องที่อาจเป็นไปได้แต่เป็นไปไม่ได้  7) การพูดเรื่องเพศที่แยบยล  8) การกล่าวโต้ตอบเหน็บแนมประชดประชันที่ทันควันและเจ็บแสบพอๆ กัน  9) การล้อเหน็บแนมบุคคลและสังคม


Fulltext ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU