หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
แนวทางการเสริมสร้างศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ของชุมชน 3 จังหวัด เขตพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา:สงขลา พัทลุง และนครศรีธรรมราช
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
The Approach for the Potentiallity in Agro-Tourism Development:The Local Community of Songkhla Lake Area in Songkhla, Phatthalung, and Nakhon Si Thammarat
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
ดร. แสนศักดิ์ ศิริพานิช
ผู้ร่วมวิจัย
ผศ.ดร. ปนัดดา ศิริพานิช
ผู้ร่วมวิจัย
ผศ.ดร. ป้องศักดิ์ ทองเนื้อแข็ง
ผู้ร่วมวิจัย
ดร. หทัยรัตน์ วัฒนพฤกษ์
ผู้ร่วมวิจัย
ดร. เทพกร ณสงขลา
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
งบประมาณแผ่นดิน(วช.)
สาขาการวิจัย
สาขาเศรษฐศาสตร์
ปีงบประมาณ
2554
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
1 ปี
งบประมาณ
676,892 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
ไม่ระบุ
สถานะของผู้ประสานงาน
ไม่ระบุ
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
ท่องเที่ยวเชิงเกษตร, ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา, ศักยภาพ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาศักยภาพและแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ซึ่งคณะวิจัยศึกษาเฉพาะพื้นที่ 3 จังหวัด เขตพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา:สงขลา พัทลุง และนครศรีธรรมราช ในด้านศักยภาพของพื้นที่ ปัจจัยที่มีอิทธิพลดึงดูดความสนใจชของนักท่องเทียวเข้า แนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและแนวทางในการพัฒนาเครือข่ายการดำเนินธุรกิจและการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้เครื่องมือหลักโดยการเก็บแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การจัดประชุมเวทีเสวนา และประชุมกลุ่มย่อย เมื่อได้ข้อมูลนำมาวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่เป็นรูปธรรม
ผลการวิจัยพบว่าพื้นที่ทั้ง 3 พื้นที่ ได้แก่ 1) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยวและโฮมสเตย์บ้านขาว 2) บ้านเรียนรู้เกษตรธรรมชาติบางแก้ว 3) กลุ่มสตรีสหกรณ์การเกษตรสุภนิมิตชะอวด ล้วนเป็นสถานที่ ๆ มีความแปลกใหม่ และมีกิจกรรมทางด้านการเกษตรที่หลากหลาย มีศักยภาพความพร้อมและมีความเหมาะสมในการท่องเที่ยวเชิงเกษตรรูปแบบการทัศนศึกษาหรือศึกษาดูงานในด้านการปลูกพืช การทำปุ๋ยหมัก การผลิตภัณฑ์แปรรูปต่างๆ กระบวนการเรียนรู้พรรณไม้พื้นเมือง และผลิตภัณฑ์ของฝากของที่ระลึก อาทิเช่น ปลาดุกร้า ข้าวซ้อมมือ สบู่ดอกดาวเรือง ข้าวสังหยดน้ำข้าวจมูกข้าวกล้อง ขนมขี้มอด กระบุง กระจาด กล่องสี่เหลียมใส่ของใช้ สมุดโน๊ตบุคและกระเป๋า เป็นต้น
ปัจจัยที่มีอิธิพลต่อนักท่องเที่ยว ได้แก่ 1) วิถีชีวิตเกษตรกร 2) การจำหน่ายของที่ระลึกพื้นเมืองและจุดแวะซื้อสินค้าเกษตร 3) ชื่อเสียงของสถานที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและมีทัศนียภาพที่สวยงาม 4) การบริการที่น่าประทับใจ 5) กิจกรรมที่น่าสนใจด้วยการแสดงข้อมูลในสถานที่จริงตามธรรมชาติไม่ต่อเติมเสริมแต่งใดๆ 6) มัคคุเทศก์ผู้นำชมท้องถิ่นมีการแสดงข้อมูล ด้วยภาษาถิ่นโดยมีภาพประกอบพร้อมบรรยายและสาธิตให้ชม
ดังนั้นแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรได้กำหนดไว้ดังนี้ 1) เปิดโอกาสให้คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการท่องเที่ยวในชุมชนได้มีบทบาทในการกำหนดวิธีการและการแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างเท่าเทียมกัน 2) การปลูกฝังแนวคิดให้กับเยาวชนในชุมชนมีผลต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในระยะยาว 3) การพัฒนาความรู้ด้านการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรให้กับคนในชุมชนได้เกิดความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องในการจัดการและการบริการ 4) การจัดการตลาดและการประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยวและการให้บริการจะต้องมีความต่อเนื่อง 5) กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงเกษตรจะต้องสอดคล้องกับอาชีพของชุมชนและต้องเป็นอาชีพเสริมไม่ใช่อาชีพหลัก 6) การสร้างกฏกติกาให้นักท่องเที่ยวปฏิบัติตกลงให้ความร่วมมือเพื่อระวังพฤติกรรมนักท่องเที่ยวในการทำกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
สำหรับแนวทางในการพัฒนาเครือข่ายการดำเนินธุรกิจและการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ต้องกำหนดให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและเครือข่ายธุรกิจทุกภาคส่วนที่เป็นองค์ประกอบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรปฏิบัติตามเงื่อนไขและวิธีที่จะต้องพัฒนาให้เกิดเป็นรูปธรรมภายใต้องค์ประกอบด้านการจัดการด้านแหล่งท่องเที่ยว ด้านกิจกรรม และด้านการมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ได้รับความนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศต่อไป
Fulltext
ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU