หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
การศึกษาวิจัยการสำรวจ รวบรวมพันธุกรรมกล้วยไม้ป่าหายากใกล้สูญพันธุ์และมีคุณค่าทางเศรษฐกิจเพื่อนำมาเก็บรักษาสายพันธ์และส่งเสริมการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
The survey and collection of Rare and endangered wild orchids for reservation and promotion for sustainable utilization
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
ดร. สุวรรณี พรหมศิริ
ผู้ร่วมวิจัย
นางสาว นงลักษณ์ คงรักษ์
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
งบประมาณแผ่นดิน(วช.)
สาขาการวิจัย
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
ปีงบประมาณ
2552
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
1 ปี
งบประมาณ
0 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
ไม่ระบุ
สถานะของผู้ประสานงาน
ไม่ระบุ
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
รวบรวมพันธุกรรม, กล้วยไม้, คุณค่าทางเศรษฐกิจ
บทคัดย่อ
การสำรวจ รวบรวมพันธุกรรมกล้วยไม้ป่าหายากใกล้สูญพันธุ์ และมีคุณค่าทางเศรษฐกิจเพื่อนำมาเก็บรักษาสายพันธุ์และส่งเสริมการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน มีจุดประสงค์เพื่อ ศึกษาชนิดกล้วยไม้ป่าหายากและใกล้สูญพันธุ์ในภาคใต้ ปลูกรักษาและอนุรักษ์สายพันธุ์ รวบรวมภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์และส่งเสริมการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน สร้างจิตสำนักและแหล่งเรียนรู้ ในการอนุรักษ์กล้วยไม้ป่า โดยได้ทำการสำรวจและรวบรวมในพื้นที่ป่าภาคใต้ พบกล้วยไม้ป่าจำนวน 103 ชนิด 43 สกุล ในจำนวนนี้สกุลหวาย (Dendrobium) พบมากที่สุด จำนวน 22 ชนิด สกุลที่พบรองลงมาคือ สกุลสิงโต (Bulbophyllum) จำนวน 21 ชนิด บางชนิดเป็นกล้วยไม้ป่าหายาก มีประชากรในธรรมชาติน้อยมาก เช่น รองเท้านารีม่วงสงขลา (Paphiopedilum barbatum (Lindl.) Pfitzer) กะเรกะร่อน ชนิด A pale-flower form of Cymbidium finlaysonianum L. และ An albinistic-form of C. finlaysonianum L. ซิมบิเดียมคลอแรนทัม (C. chloranthum L.) เอื้องปากนกแก้ว (Dendrobium cruentum Rchb.f.) และอีกหลายชนิด ในการศึกษาครั้งนี้ ได้บรรยายลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ถิ่นที่อยู่อาศัย และการกระจายพันธ์ ได้ปลูกรักษาสายพันธืในลักษณะต้นมีชีวิตในเรือนอนุรักษ์และขยายพันธ์กล้วยไม้ป่าหายากใกล้สูญพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จากการสัมภาษณ์ภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์จากกล้วยไม้ป่า ผู้ที่หากล้วยไม้ป่าเพื่อนำมาขายเป็นงานอดิเรกหรืออาชีพเสริม จะไม่เข้าใจการเก็บกล้วยไม้ป่าเพื่อใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน แต่ผู้ที่เก็บกล้วยไม้ป่าขายเป็นอาชีพจะรู้วิธีการเก็บที่ถูกต้องคือจะเลือกเก็บเฉพาะต้นที่สมบูรณ์ ต้นเล็กจะปล่อยให้เจริญเติบโตต่อไป และไม่เก็บต้นที่มีฝักเพื่อให้แตกขยายพันธุ์ตามธรรมชาติ กิจกรรมการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ได้จัดอบรมการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อให้กับผู้ที่สนใจรวมทั้งพ่อค้าที่ขายกล้วยไม้ป่า มีการนำกล้วยไม้ป่าที่ได้จากการขยายพันธุ์คืนสู่ป่า ความรู้ ความเข้าใจถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของประชาชนมีน้อย ทำให้ขาดจิตสำนึกในการอนุรักษ์กล้วยไม้ป่าน้อยไปด้วย ดังนั้นการทำวิจัยในเรื่องนี้ ได้ทำทั้งการอนุรักษ์สายพันธุ์ จัดกิจกรรมปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์กล้วยไม้ป่า สามารถทำให้เยาวชนและประชาชนมีความตระหนัก เข้าใจ เข้าถึงในความรักและหวงแหนมรดกทางพันธุกรรมของพรรณพืชได้ในอนาคต
Fulltext
ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU