ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย แนวทางการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาญี่ปุ่นของบุคลากรในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จังหวัดสตูล
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ The Approach for Enhancing the Tourism Industry Personnel and Japanese Communication Skill in Satun

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการผศ.ดร. ปนัดดา ศิริพานิช
ผู้ร่วมวิจัยดร. แสนศักดิ์ ศิริพานิช
ผู้ร่วมวิจัยผศ.ดร. ป้องศักดิ์ ทองเนื้อแข็ง

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย งบประมาณแผ่นดิน(วช.)
สาขาการวิจัย สาขาสังคมวิทยา
ปีงบประมาณ 2554
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 1 ปี
งบประมาณ 230,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ ไม่ระบุ
สถานะของผู้ประสานงาน ไม่ระบุ
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ ทักษะการสื่อสาร, ภาษาญี่ปุ่น, การท่องเที่ยว, สตูล
บทคัดย่อ        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  คือ  เพื่อศึกษาความต้องการขององค์กรหรือสถานประกอบการในเรื่องการสื่อสารภาษาญี่ปุ่นของบุคลากร  และข้อจำกัดในการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาญี่ปุ่นของบุคลากรเพื่อกำหนดกิจกรรม/โครงการในรูปแบบของการฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ ที่เหมาะสม  เป็นไปได้  ในการพัฒนาบุคลากรในภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง  ประกอบด้วยบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จ.สตูล จำนวน 412 คน  และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม  ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

       1) ภาษาอังกฤษเป้นภาษาต่างประเทศที่ใช้ในการทำงานมากที่สุด  รองลงมาคือ  ภาษามาเลย์และภาษาจีน  โดยมีการใช้ภาษาต่างประเทศในงานให้บริการมากที่สุด

       2) กลุ่มตัวอย่างต้องการพัฒนาทักษะภาษษญี่ปุ่นด้าน  การพูด  การอ่าน  และการเขียนเพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองมากที่สุด  และต้องการพัฒนาทักษะด้านการฟัง  เพื่อนำไปใช้ในการทำงานมากที่สุด

       3) กลุ่มตัวอย่างต้องการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาญี่ปุ่นในหัวข้อเรื่อง  คำทักทาย/สำนวนที่ใช้ในชีวิตประจำวันมากที่สุด  รองลงมาคือการอธิบายลักษณะสิ่งของ/สถานที่  การบอกทาง  การแนะนำตนเองและบุคคลอื่นและ  การบอกราคาสิ่งของ/การซื้อขาย

       4) กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยในระดับมากกว่า  การเรียนรู้ภาษาที่สามนอกเหนือจากภาษาอังกฤษมีความจำเป็นและหากมีโครงการอบรมทักษะการใช้ภาษาญี่ปุ่นก็มีความสนใจที่จะเข้าร่วม

       5) ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทักษะญี่ปุ่นมากที่สุดคือ  การขาดทุนทรัพย์  รองลงมาคือ  การขาดการสนับสนุนจากหน่วยงาน/นายจ้าง

       6) คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นเฉพาะทางที่กลุ่มตัวอย่างต้องการพัฒนาคือ  คำศัพท์ทางด้านการท่องเที่ยว/โรงแรม  รองลงมาคือคำศัพท์ทางด้านคอมพิวเตอร์/เทคโนโลยีการสื่อสาร

       7) ด้านการอบรมภาษาญี่ปุ่นพบว่าช่วงเวลาที่เหมาะสมควรเป็นวันหยุด  โดย ระยะเวลาที่เหมาะสมคือ 30 ชั่วโมง ส่วนใหญ่จะไม่มีงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงาน/องค์กร และสิ่งที่ต้องการให้มีการอบรมมากที่สุดคือ  อาจารย์ชาวต่างประเทศ  เอกสาร  และรูปภาพ

        ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามได้นำมาเป็นข้อมูลในการออกแบบหลักสูตรการจัดอบรมเพื่อเป็นการนำร่องโครงการพัฒนาทักษะภาษาญี่ปุ่นและถามเจตคติของผู้เข้าร่วมเกี่ยวกับหลักสูตรหลังจากการเสร็จสิ้นการอบรมพบว่า  ผู้เข้าร่วมเห็นด้วยในระดับมากกว่า  เนื้อหาที่ใช้ในการอบรมและวิทยากรมีความเหมาะสม และหากมีโครงการการอบรมภาษาญี่ปุ่นก็สนใจที่จะเข้าร่วม
Fulltext ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU