ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์กรอบรูป (OTOP):กรณีศึกษา หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ตำบลพนมวังก์ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ Product Design and Development a Photo Frame (OTOP):A Case Study of One Tambon One Product in Panomwung Sub-District Kounks=anun District, Pattalung Province

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการนาย วีรชัย มัฎฐารักษ์

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย สาขาเศรษฐศาสตร์
ปีงบประมาณ 2553
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 1 ปี
งบประมาณ 0 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ ไม่ระบุ
สถานะของผู้ประสานงาน ไม่ระบุ
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ โอท็อป, กรอบรูป, หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
บทคัดย่อ        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์กรอบรูปของกรณีศึกษาหนึีงตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ตำบลพนมวังก์ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง  ขั้นตอนการดำเนินงานเริ่มจากกำหนดปัญหา ศึกษากระบวนการผลิตและออกแบบผลิตภัณฑ์ตัวอย่างทดลอง  สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคต่างๆ กับสมาชิกกลุ่ม การเก็บข้อมูล รวบรวมความต้องการ และหาความสำคัญของลูกค้า ประยุกต์ใช้เทคนิควิศวกรรมคันไซ จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจ ประยุกต์ใช้เทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับสมาชิกกลุ่ม ทำการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และประยุกต์ใช้เทคนิควิศวกรรมคุณค่า จากนั้นประเมินผลการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างสถานประกอบการณ์กรณีศึกษาเพื่อการศึกษาข้อมูลต่างๆ ผลการศึกษาพบว่าการรวบรวมข้อมูลความต้องการของลูกค้าแบ่งเป็น 3 ด้านคือ ด้านประโยชน์ใช้สอย ด้านรูปแบบ และด้านคุณภาพ/ราคา โดยกลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับขนาดมาตรฐาน จัดวางง่าย และเป็นธรรมชาติ มากตามลำดับ  ในการศึกษาแนวคิดของลูกค้าที่มีต่อผลิตภัณฑ์กรอบรูปตามแนวคิดวิศวกรรมคันไซพบว่าผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง F5 และ F4 ได้รับผลประเมินสูงสุด ซึ่งได้นำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยผลประเมินความพึงพอใจในผลิตภัณฑืตัวอย่างทดลองของกลุ่ม มีคะแนน 3.14 ซึ่งอยู่ระดับปานกลางและต่ำสุดเมื่อเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอื่น จำนวน 3 กลุ่ม  จากนั้นได้ประยุกต์ใช้เทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพแบบ 4 เฟส คือ  เฟสที่ 1 การวางแผนผลิตภัณฑ์  เฟสที่ 2 การออกแบบผลิตภัณฑ์  เฟสที่ 3 การวางแผนกระบวนการ  เฟสที่ 4 การวางแผนการผลิต เข้ามาช่วยแปลงความต้องการของลูกค้าเพื่อการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยประยุกต์ใช้เทคนิควิศวกรรมคุณค่าแบบ 7 ขั้นตอน เข้ามามีส่วนช่วยในการลดต้นทุนรวมจากเดิม 184 บาท ลดเหลือเป็น 123 บาท ซึ่งมีผลต่าง 61 บาท หรือ 33.15% ต่อหน่วย  โดยผลจากการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่พบว่าลูกค้ามีความพึงพอใจผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นเป็นคะแนน 4.12 ซึ่งอยู่ในระดับมากหรือเพิ่มขึ้นเป็น 23.78%
Fulltext ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU