หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
การวิเคราะห์ปริมาณอะไมเลสในข้าวพันธุ์พื้นเมืองบริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
Analytical of Amylose Content in Local Rice Variety Grown in the Songkhla Watershed Area
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
ผศ. เชาวนีพร ชีพประสพ
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
ปีงบประมาณ
2553
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
1 ปี
งบประมาณ
99,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
ไม่ระบุ
สถานะของผู้ประสานงาน
ไม่ระบุ
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
อะไมเลส, การวิเคราะห์ปริมาณ, ข้าวพันธุ์พื้นเมือง
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุปะสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีประกอบด้วยปรมาณความชื้น เถ้า ลิปิด โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามินบี1 และพลังงาน รวมทั้งวิเคราะห์ปริมาณอะไมเลสในพันะธุ์ข้าวพื้นเมืองบริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาจำนวน 63 ชนิด จากผลการวิเคราะห์ข้าวพันธ์พื้นเมืองทั้งหมดพบว่าปริมาณความชื้นในข้าวช่อบางกอกจะมีค่าสูงสุด 15.58 % และต่ำสุดในข้าวยาไทร 11.32 % ปริมาณเถ้ามีค่าแตกต่างกันจาก 1.49 % ในข้าวช่อลำเจียกจนถึง 0.69 % ในข้าวเมืองไทรและข้าวสร้อยทอง นอกจากนี้พบว่าข้าวแมงดาลายจะมีปริมาณไขมันสูงสุด 3.51 % ในขณะที่ข้าวเกาะหมู่จะมีค่าต่ำสุด 1.17 % ปริมาณโปรตีนมีค่าแตกต่างกันจาก 9.06 % ในข้าวรวงโหนดจนถึง 5.25 % ในข้าวหนานหัก โดยมีปริมาณคาร์ดบไฮเดรตในช่วงที่สูงสุดเป็น 79.72 % ในข้าวเมืองไทรจนถึงต่ำสุดเป็น 72.57 % ในข้าวช่อแดง นอกจากนี้การวิเคราะห์ปริมาณวิตามินบี1 มีค่าแตกต่างกันจาก 0.368 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม ในข้าวไร่หมากเมืองจนต่ำสุดถึง 0.148 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม ในข้าวยาไทร ส่วนการหาค่าพลังงานพบว่าข้าวแมงดาลายจะให้ค่าพลังงานสูงสุดเป็น 369 กิโลแคลอรี และข้าวนางทองจะให้ค่าต่ำสุดเป็น 330 กิโลแคลอรี และพบว่าปริมาณอะไมเลสจะมีค่าสูงสุดเป็น 33.79 % ในข้าวริง ในขณะที่ข้าวเหนียวดำจะมีค่าต่ำสุดเป็น 4.06 % ซึ่งปริมาณอะไมเลสสามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่มคือ กลุ่มข้าวเหนียว (ปริมาณอะไมเลส 0-5%) จำนวน 3 ชนิด กลุ่มข้าวเจ้าที่มีปริมาณอะไมเลสต่ำมาก (5.1-12%) จำนวน 1 ชนิด กลุ่มข้าวเจ้าที่มีปริมาณอะไมเลสอะไมเลสต่ำ (12.1-20%) จำนวน 11 ชนิด กลุ่มข้าวที่มีปริมาณอะไมเลสปานกลาง (20.1-25%) จำนวน 20 ชนิด และกลุ่มข้าวเจ้าที่มีปริมาณอะไมเลสสูง (มากกว่า 25%) จำนวน 28 ชนิด นอกจากนี้เมื่อทำการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบทางเคมีต่าง ๆ พบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างปริมาณคาร์โบไฮเดรต และ องค์ประกอบอื่น ๆ ยกเว้นปริมาณวิจามินบี1 และค่าพลังงาน
Fulltext
ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU