ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย การพัฒนาศักยภาพและโอกาสของคนจนเพื่อแก้ปัญหาความยากจนแบบบูรณาการ : กรณีศึกษากลุ่มแปรรูปอาหาร อำเภอสิงหนคร อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ -

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการผศ. อุไร แฉล้ม

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
สาขาการวิจัย สาขาการศึกษา
ปีงบประมาณ 2548
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 1 ปี
งบประมาณ 0 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ ไม่ระบุ
สถานะของผู้ประสานงาน ไม่ระบุ
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ ศักยภาพ/บูรณาการ/แปรรูปอาหาร
บทคัดย่อ         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพและโอการของกลุ่มแปรรูปอาหารอำเภอสิงหนคร และอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ตามบริบทของชุมชน/กลุ่มอาชีพ และเพื่อศึกษาผลของการพัฒนาศักยภาพและโอการของกลุ่มแปรรูปอาหารโดยกระบวนกการวิจัยแบบมีส่วนร่วม(PAR) ผลการวิจัยนี้ จะนำไปสู่นโยบายการพัฒนาของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและกระบวนการวิจัยจะนำไปบูรณาการ การเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา กลุ่มที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่กลุ่มอาชีพจาวตาลเชื่อม ตำบลทำนบ อำเภอสิงหนคร กลุ่มแปรรูปน้ำนมข้าวโพด ตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร และกลุ่มปลาดุกร้า ตำบลบ้านขวา อำเภอระโนด ของจังหวัดสงขลา วิธีการวิจัยโดยใช้วิธีปฏิบัติการวิจัยแบบมีส่วนร่วม(PAR) เทคนิคที่ใช้ได้แก่ เทคนิค AIC, SWOT, FOCUS, GROUP INTERVIEW  การสัมภาษณ์รายบุคคล  การสังเกตแบบมีส่วนร่วม
        ผลการวิเคราะห์โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการพึ่งตนเองแบบบูรณาของชุมชนชนบท พิจารณาจากปัจจัย TERMS (เทคโนโลยี เศรษฐกิจ ทรัพยากร จิตใจ สังคม และวัฒนธรรม ) ได้ผลการวิจัย ดังนี้
        1. กลุ่มแปรรูปทั้ง 3 กลุ่ม มีศักยภาพในการดำเนินชิวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงเป็นทุนเดิม มีความคิดพึ่งตนเอง แม้ส่วนใหญ่เป็นสตรีสูงอายุ ทรัพยากรในการผลิตมีอยู่ในชุมชน ในภูมิปัญญาแบบดั้งเดิม พึ่งพาเทคโนโลยีในระดับต่ำ มองอำนาจรัฐในแง่บวก มีสัมพันธภาพที่ดีทั้งในระดับครอบครัว และชุมชน
        2. กระบวนการ PAR หนุนเสริมความเข้มแข็งของกลุ่ม สร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันและพัฒนาการมีส่วนร่วมของกลุ่มอาชีพ เป็นการประสานการเรียนรู้ระหว่างกลุ่มอาชีพแปรรูปอาหาร ภาคีที่เกี่ยวข้อง และนักวิจัยขับเคลื่อนให้กลุ่มแปรรูปอาหาร พัฒนาศักยภาพด้านจิตใจใฝ่พัฒนาในอัตราเร่งกว่าปกติิ เป็นปัจจัยหลัก นำไปสู่การพัฒนาปัจจัยอื่นๆ กล่าวคือ ศักยภาพด้านจิตใจ     (Mental -M) นำไปสู่ศักยภาพด้านเศรษฐกิจ(Economic -E) การเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรการผลิต (Resource -R) และการเข้าถึงสวัสดิการทางสังคม และวัฒนธรรม (Socoicultural)
        3. กระบวนการ PAR  ทำให้เกิดประสบการตรงแก่นักศึกษาระดับบัญฑิตศึกษาได้ ประยุกต์ใช้กระบวนการในงานวิจัยระดับบัญฑิตศึกษา ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน
        4. จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ภาคีที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญต่อกระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มแปรรูปอาหาร เพื่อเพิ่ม ศักยภาพด้านจิตใจใฝ่พัฒนา และช่วยเหลือด้านการพัฒนาเทคโนโลยีให้เหมาะสมในการประกอบอาชีพแปรรูปอาหาร ให้พัฒนาเป็นสินค้า OTOP ก้าวไปสู่วิสาหกิจชุมชนได้ ควรส่งเสริมให้กลุ่มอาชีพบริหารจัดการทรัพยากรในชุมชนมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจครบวงจร โดยตระหนักถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรให้ยั่งยืน ส่งเสริมการสร้างงานและสวัสดิ์การในชุมชน เพื่อดึงประชากรวัยแรงงานให้คืนถิ่น ไม่ทิ้งถิ่น ให้ความสำคัญแก่กลุ่มสตรีและผู้สูงอายุซึ่งเป็นกำลังหลักของกลุ่มแปรรูปอาหาร
Fulltext ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU