หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
ศึกษาความหลากหลายของไม้ผลพื้นบ้านในท้องถิ่นเกาะยอ อ.เมือง จ.สงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
-
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
ดร. สุวรรณี พรหมศิริ
ผู้ร่วมวิจัย
นางสาว นงลักษณ์ คงรักษ์
ผู้ร่วมวิจัย
ผศ. เสาวนิตย์ ชอบบุญ
ผู้ร่วมวิจัย
ผศ. เชาวนีพร ชีพประสพ
ผู้ร่วมวิจัย
นางสาว วาสนา มู่สา
ผู้ร่วมวิจัย
ผศ. ณฐมน เสมือนคิด
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
สาขาการวิจัย
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
ปีงบประมาณ
2548
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
1 ปี
งบประมาณ
ไม่ระบุ
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
ไม่ระบุ
สถานะของผู้ประสานงาน
ไม่ระบุ
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
ไม้ผลในท้องถิ่นเกาะยอ, ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
บทคัดย่อ
เกาะยอเป็นตำบลหนึ่งที่มีลักษณะเป็นเกาะอยู่กลางทะเลสาบสงขลาตอนล่าง อยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา มีพื้นที่ประมาณ 9,275 ไร่ ประกอบด้วย 9 หมู่บ้านผู้คนมีการดำรงชีวิตที่พึ่งพาและผูกพันกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อาชีพหลักคือ เกษตรกรรม เกาะยอมีภูมิประเทศและระบบนิเวศน์ที่หลากหลาย ทำให้สภาพพื้นที่เหมาะสมแก่การเพาะปลูก เกษตรกรรม และทำสวนไม้ผล ไม้ผลในเกาะยอหลายชนิดที่มีรสชาติแตกต่างจากที่อื่น มีพันธุ์ไม้ผลดั้งเดิมที่หายากและใกล้จะสูญพันธุ์ อีกทั้งเกาะยอมีสภาพที่เป็นเกาะตัดจากแผ่นดินใหญ่มาช้านาน เพราะฉะนั้นความหลากหลายไม้ผลที่ยังมีอยู่ควรค่าแก่การอนุรักษ์และศึกษาก่อนที่สภาพของเกาะยอจะเปลี่ยนแปลงไป อันเนื่องมาจากการขยายถิ่นฐาน การปลูกสิ่งก่อสร้าง
การศึกษาความหลากหลายของผลไม้ในท้องถิ่นเกาะยอ อ.เมือง จ.สงขลาครั้งนี้ เพื่อศึกษาถึงบริบท ความหลากหลาย ลักษณะทางนิเวศวิทยา ความสำคัญของผลไม้ในเกาะยอ แนวทางการพัฒนาเพื่อนำมาใช้ประโยชน์และวิธีการอนุรักษ์ของไม้ผล โดยการสัมภาษณ์เจ้าของสวน สำรวจชนิดของผลไม้ และการจัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์ไม้ผล ผลการศึกษาพบ สภาพไม้ผลเกาะยอในปัจจุบันเริ่มเปลี่ยนแปลงไปทั้งชนิดและปริมาณและคนรุ่นหลังให้ความสนใจน้อยลง นอกจากนี้ชาวสวนยังประสบปัญหาเกี่ยวกับโรคพืชที่ยังแก้ปัญหาไม่ได้ ชนิดและความหลากหลายของไม้ผลพบว่า มีไม้ผล 26 วงศ์ 46 สกุล 62 ชนิด กระจายไปในแต่ละหมู่บ้าน วงศ์ที่พบมากที่สุดมี 2 วงศ์ คือ วงศ์ ANACARDIACEAE และวงศ์ MYRTACEAE และ พบว่า หมู่ที่ 3 มีความหลากหลายของไม้ผลมากที่สุด มี 43 ชนิด วงศ์ที่พบมากที่สุดคือ วงศ์ ANACARDIACEAE รองลงมาหมู่ที่ 6 มี 42 ชนิด วงศ์ที่พบมากที่สุด คือ วงศ์ ANACARDIACEAE และ RUTACEAE หมู่บ้านที่มีความหลากหลายไม้ผลน้อยที่สุด คือ หมู่ที่ 1 มี เพียง 15 ชนิด ความหนาแน่นเฉลี่ยของไม้ผลเกาะยอ 12 ต้น/ 1 ไร่ และความหลากหลายมีค่าเท่ากับ 0.796 ซึ่งบ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของพันธุ์ไม้ผลที่พบในบริเวณที่ศึกษา ชาวบ้านและนักเรียนได้ร่วมกิจกรรมขยายพันธุ์และปลูกอนุรักษ์พันธุ์พืชที่มีค่าทางเศรษฐกิจและใกล้จะสูญพันธุ์ไว้ทั้งหมด 4 ชนิด จำนวน 38 ต้น
Fulltext
ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU