ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
การศึกษาตะกั่วในอาหารหลักที่มีผลต่อการสะสมในปลากะพงขาวที่เลี้ยงในกระชัง บริเวณทะเลสาบสงขลาตอนล่าง ต.หัวเขา อ.สิงหนคร จ. สงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
The study of Lead Accumulation in Main Food Effected on Giant Seaperch Raised in Floating Baskets at the Lower Part of songkhla Lake, Tambon Huakao ,Singhanakon District , Songkhla Province
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ นางสาว วรลักษณ์ จันทร์ศรีบุตร
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย
สาขาการศึกษา
ปีงบประมาณ
2549
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
1 ปี
งบประมาณ
ไม่ระบุ
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
ไม่ระบุ
สถานะของผู้ประสานงาน
ไม่ระบุ
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
อาหารหลัก, ตะกั่ว , กระชัง
บทคัดย่อ
จากการศึกษาตะกั่วในอาหารหลักที่มีผลต่อการสะสมในปลากะพงขาวที่เลี้ยงในกระชัง บริเวณทะเลสาบสงขลาตอนล่าง ต.หัวเขา อ. สิงหนคร จ.สงขลา มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปริมาณตะกั่วที่สะสมในอาหารหลักของปลากะพงขาว ในตัวปลากะพงขาว และปัจจัยอาหารหลักที่มีผลต่อการสะสมตะกั่วในปลากะพงขาว ซึ่งวิเคราะห์ในอาหารหลัก 2 ชนิด คือ ปลาหลังเขียวและปลาข้างเหลือง รวมทั้งปลากะพงขาวที่เลี้ยงในกระชังจากตัวอย่าง 3 กระชัง ในการศึกษาพบว่า ปริมาณตะกั่วเฉลี่ยในอาหารหลัก 2 ชนิด คือ ปลาหลังเขียวและปลาข้างเหลือง กระชังที่ 1 มี 0.0012, 0.0030 ppm กระชังที่ 2 มี 0.0015, 0.0029 ppm และกระชังที่ 3 มี 0.0019 ,0.031 ppm ตามลำดับ ส่วนปริมาณตะกั่วเฉลี่ยสะสมในปลากะพงขาวที่เลี้ยงในกระชังทั้ง 3 กระชัง อยู่ในระดับ 0.0047 ,0.0079, 0.0031 ppm ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์กำหนดตะกั่วในอาหารตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทย ซึ่งได้กำหนดปริมาณสารตะกั่วในปลาได้ไม่เกิน 0.2 ppm ปรากฏว่าปลากะพงขาวที่เลี้ยงในกระชังบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนล่าง ทั้ง 3 กระชัง มีปริมาณตะกั่วต่ำกว่าเกณฑ์กำหนดในอาหารตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งหมายความว่า ปลากะพงขาวที่เลี้ยงในกระชังบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนล่าง อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อการบริโภค
ดังนั้นจากการทดลองเรื่อง การศึกษาตะกั่วในอาหารหลักที่มีผลต่อการสะสมในปลากะพงขาวที่เลี้ยงในกระชังบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนล่าง ต.หัวเขา อ.สิงหนคร จ.สงขลา สามารถสรุปได้ว่าอาหารหลักทั้ง 2 ชนิด คือ ปลาหลังเขียวและปลาข้างเหลือง มีผลต่อการสะสมของตะกั่วในปลากะพงขาวที่เลี้ยงในกระชังทั้ง 3 กระชัง โดยปลาข้างเหลืองมีปริมาณตะกั่วสะสมมากกว่าปลาหลังเขียว จึงส่งผลต่อการสะสมตะกั่วในปลากะพงขาวที่เลี้ยงในกระชังมากกว่า แต่ถึงอย่างไรก็ตามการสะสมของตะกั่วในปลากะพงขาวที่เลี้ยงในกระชังยังไม่เกินมาตรฐาน เมื่อเปรียบเทียบกับปลากะพงขาวที่อยู่ตามธรรมชาติมีการสะสมตะกั่วเกินมาตรฐาน (ดวงใจ อินแก้ว และสุขณา ถิ่นกาแบง, 2548) ซึ่งอาจจะมาจากการกินตะกอนดิน สัตว์น้ำและพืชน้ำเป็นอาหาร
Fulltext
ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU