หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
ศึกษาผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ พศ.2545-2549 และกฏหมายอื่นที่ออกมาเพื่อส่งเสริมและช่วยเหลือคนพิการหรือบุคคลที่มีความต้องการพิเศษด้านการให้บริการทางการศึกษา จังหวัดสงขลา พัทลุง และสตูล
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
A Study on the Development Plan for the Quality of Life of the People with Disabilities(2002-2006) and Other Acts Promoting and Supporting of Educational Services for People with Disabilities in Songkhla, Phatthalung and Satun Province
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
ผศ. วันทนีย์ บางเสน
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย
สาขาการศึกษา
ปีงบประมาณ
2551
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
1 ปี
งบประมาณ
95,500 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
ไม่ระบุ
สถานะของผู้ประสานงาน
ไม่ระบุ
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
คุณภาพชีวิต, แผนพัฒนาคุณภาพ, คนพิการ, สงขลา, สตูล, พัทลุง
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะการดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ พศ.2545-2549 และ กฏหมายอื่นที่ออกมาเพื่อส่งเสริมและช่วยเหลือคนพิการหรือบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ ด้านการให้บริการด้านการศึกษาของหน่วยงานที่ให้บริการทางการศึกษาแก่บุคคลที่มีความต้องการพิเศษในจังหวัดสงขลา พัทลุง และสตูล การเลือกประชากรและกลุ่มตัวอย่างมาศึกษา 2 ลักษณะ คือลักษณะที่ 1 ได้แก่ สำนักงานเขตพื้นที่การศ฿กษาสงขลาเขต 1-3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพัทลุง และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสตูล ศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 3 และศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดพัทลุง ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสตูล และโรงเรียนเฉพาะความพิการสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ได้แก่ โรงเรียนสงขลาพัฒนาปัญญา และโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสงขลา โรงเรียนละ 1 คน และโรงเรียนเฉพาะความพิการสังกัดองค์กรเอกชน ได้แก่ โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดธรรมสากลหาดใหญ่ ศึกษาจากประชากรโดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารหรือผู้รับผิดชอบการจัดการศึกษาคนพิการ หน่วยงานละ 1 คน (ในปีที่ศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพัทลุงยังไม่แบ่งออกเป็น 2 เขต) ลักษณะที่ 2 ได้แก่ โรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 193 โรง กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 10 ของประชากร ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 19 โรง จำนวนทั้งสิ้น 30 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลศึกษาค้นคว้า ได้แก่แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยอาศัยแนวคิดที่ได้จากการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง มี 5 ชุด ตามกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา แบบสัมภาษณ์แต่ละชุดมีจำนวนข้อกะทงคำถามที่ต่างกัน ซึ่งคำถามขึ้นอยู่กับกรอบภารกิจและบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานนั้น ๆ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกกบุ่มตัวอย่างตามชุดแบบสัมภาษณ์ จัดกลุ่มตามประเด็นย่อย หาความถี่ ตามชุดแบบสัมภาษณ์แต่ละชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ที่ได้จากการสัมภาษณ์ที่ได้จดบันทึกไว้ และแปลผลที่ค้นพบ และนำมาสังเคราะห์ในภาพรวมตามกรอบที่กำหนดไว้ พร้อมทั้งนำข้อคิดเห็นต่าง ๆ ของแต่ละประเด้นมาสังเคราะห์แล้วนำเสนอแบบบรรยายสรุปผลการวิจัย มีดังนี้
1.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ผลการวิจัยผลว่าในเชิงปริมาณสามารถดำเนินงานได้บรรลุเป้าหมาย มีจำนวนโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมครบตามเป้าหมาย แต่ในเชิงคุณภาพยังมีปัญหาหลายประการทำให้ผลการดำเนินงานของโรงเรียนแกนนำเรียนร่วมไม่บรรลุวัตถุประสงค์เท่าที่ควร เด็กที่มีความต้องการพิเศษได้รับการพัฒนาไม่เต็มตามศักยภาพเนื่อจากมีปัญหาในการดำเนินงานในหลายระดับ ในส่วนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานั้น พบว่ามีปัญหาบางประการ เช่น โครงสร้างงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไม่ได้กำหนดกลุ่มงานที่รับผิดชอบงานการศึกษาพิเศษที่แน่นอน ทำให้มีปัญหาในการประสานงานการจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบข้อเสนอแนะการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกาา ดังนี้
1) สร้างความเข้าใจและเจตคติที่ดีในการจัดการเรียนร่วมให้แก่บุคลากรทุกฝ่ายของสถานศึกษา
2) พัฒนาบุคลากรของโรงเรียนร่วมให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอน และการช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษให้ตรงตามความต้องการจำเป็น
3) ส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมให้บริการจัดการโรงเรียนตามโครงสร้างซีทอย่างมีประสิทธิภาพ
4) นิเทศการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนเรียนร่วมให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน รวมทั้งนำผลการนิเทศไปใ้ช้ในกระบวนการวิจัย พัฒนาการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับนักเรียนเป็นรายบุคคล จัดให้มีแผนงาน กิจกรรม โครงการสนับสนุนผู้เรียนร่วมให้ครบกระบวนการ
2.ศูนย์การศึกษาพิเศษ
ผลการศึกษาพบว่า ศูนย์การศึกษาพิเศษทั้ง 3 ศูนย์ ดำเนินงานตามกรอบภารกิจ สามารถให้บริการทางการศึกษาแก่เด็กท่ีมีความต้องการพิเศษอย่างมีประสิทธิภาพ ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ บทบาทหน้าที่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และศูนย์การศึกษาพิเศษในบางลักษณะงานซ้ำซ้อนกัน ปัญหาบุคลกรไม่เพียงพอกับภาระงานทำให้ภารกิจที่สำคัญบางประการยังไม่บรรลุวัตถุประสงค์เท่าที่ควร และผลงานการวิจัยทางด้านการศึกษาพิเศษที่มีน้อย ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา มีดังนี้
1) ควรกำหนดบทบาท หน้าที่ ภาระงานระหว่างศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้ชัดเจน งานจะได้ไม่ซ้ำซ้อนกันเพื่อครอบคลุมงาน ในการส่งเสริม และช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
2) เพิ่มอัตราครูและบุคลากรทางการศึกษาของศูนย์การศึกษาพิเศษให้เพียงพอต่อภาระงาน
3) จัดอบรมหรือประชุมสัมมนาผู้ที่เกี่ยวข้องของโรงเรียนร่วมทุกฝ่ายเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และมีเจตคติที่ดีต่อเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เห็นความสำคัญในการส่งเสริมช่วยเหลือ และดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียน
4) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ควรมีกลุ่มงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวิจัย บรรจุบุคลากรทางด้านการวิจัย และมีงบประมาณเพื่อสนับสนุนการวิจัยทางการศึกษาพิเศษอย่างเพียงพอ
3.โรงเรียนเฉพาะความพิการ
ผลการศึกษาพบว่า จากช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา มีกฏหมายที่กำหนดมาตรการและวิธีการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทั้ง 4 ด้าน โดยเฉพาะทางด้านการศึกษา ทำให้โรงเรียนเฉพาะความพิการ ได้รับการพัฒนาให้มีความพร้อมในทุกด้าน ทั้งด้านอาคาร สถานที่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา วัสดุครุภัณฑ์ สื่อ และอุปกรณ์การเรียนการสอน
4.โรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม
ผลการศึกษาพบว่า ในเชิงปริมาณมีจำนวนโรงเรียนเข้าร่วมโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ แต่ในเชิงคุณภาพยังมีปัญหาหลายประการทำให้ผลการดำเนินงานของโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมไม่บรรลุวัตถุประสงค์เท่าที่ควร เด็กที่มีความต้องการพิเศษได้รับการพัฒนาไม่เต็มตามศักยภาพเนื่องจากมีปัญหาหลายประการ ทั้งปัญหาด้านบริหารจัดการ ด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา ด้านนักเรียนและผู้ปกครอง ขอเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาดังนี้
1) โรงเรียนต้องกำหนดกรอบวิสัยทัศน์ และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษา และนำวิธีการบริหารจัดการเรียนร่วมตามโครงสร้างซีท (SEAT framework) มาใช้อย่างจริงจัง
2) ต้นสังกัดต้องบรรจุหรือจ้างครูและบุคลากรทางการศึกษาพิเศษเพื่อประสิทธิภาพในการเรียนการสอน รวมทั้งจัดอบรมประชุมสัมมนาเพื่อพัฒนาผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีเจตคติที่ดีต่อเด็กที่มีความต้องการพิเศษ และเพื่อให้การจัดการเรียนสอนและการให้บริการอื่น ๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
3) ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาทำวิจัยในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านการศึกษาพิเศษ
4) นิเทศติดตามประเมินผลการเรียนการสอนของโรงเรียนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
5) ควรเพิ่มงบประมาณให้แก่โรงเรียนที่จัดการเรียนร่วมเพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษ
6) โรงเรียน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต้นสังกัดควรประสานงานขอความร่วมมือกับโรงพยาบาล กำหนดปฏิทินการปฏิบัติงานของหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ในการออกตรวจสุขภาพเด็กในแต่ละโรงเรียนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ในการวัดระดับสติปัญญาเพื่อนำไปจดทะเบียนคนพิการ
5.โรงเรียนเฉพาะความพิการสังกัดองค์กรเอกชน
ผลการศึกษาพบว่าโรงเรียนมีความพร้อมสูงมากในการให้บริการทางการศึกษาแก่เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น เนื่องจากโรงเรียนนี้เป็นสาขาของมูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งมูลนิธิมีความพร้อม มีบุคลากรที่มีความรู้และประสปกาณ์สูง ถึงแม้โรงเรียนจัดตั้งมาประมาณ 4 ปี แต่มีความเข้มแข็ง สามารถช่วยเหลือเด็กตาบอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังสามารถให้ความช่วยเหลือโรงเรียนเรียนร่วม และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
สรุปผลการวิจัยพบว่าในเชิงปริมาณหน่วยงานทางการศึกษาทั้งมหดสามารถให้บริการทางการศึกษาแก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษได้่อย่างทั่วถึง เด็กที่มีความต้องการพิเศษและผู้ปกครองสามารถเข้าถึงการศึกษาและบริการอื่น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เด็กที่มีความต้องการพิเศษ ได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้นปีละมากกว่าร้อยละ 15 แต่ในเชิงคุณภาพพบว่า หลายหน่วยงานยังมีปัญหาอยู่ โดยเฉพาะโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่ให้บริการทางการศึกษาแก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษในจำนวนที่มาก แต่มีโรงเรียนส่วนหนึ่งที่การให้บริการทางการศึกษาและการช่วยเหลือเด็กยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร โรงเรียนยังขาดแคลนในหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้านบุคลากร อาคารสถานที่ สื่อ วัสดุอุปกรณ์ เจตคติที่ดีของผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดการเรียนร่วม ขาดการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านการศึกษาพิเศษ และที่สำคัญคือโรงเรียนไม่ได้นำการบริหารจัดการเรียนร่วมตามโครงสร้างซีทมาใช้อย่างจิงจัง ดังนั้นเพื่อให้การให้บริการทางการศึกษาแก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษมีประสิทธิภาพ เด็กที่มีความต้องพิเศษได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ ช่วยตัวเองได้ และสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมในสังคมอย่างมีความสุข ทุกฝ่ายจะต้องเห็นความสำคัญของการจัดการศึกษาพิเศษ ร่วมกันพัฒนากระบวนการเรียนการสอน และการบริหารจัดการโรงเรียนเรียนร่วมให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพที่กำหนดไว้
Fulltext
ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU