หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสุกรพื้นเมืองที่เป็นอาชีพเสริมของเกษตรกรในอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
-
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
ผศ.ดร. ครวญ บัวคีรี
ผู้ร่วมวิจัย
ดร. มงคล เทพรัตน์
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
เครือข่ายการวิจัยภาคใต้ตอนล่าง สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา
สาขาการวิจัย
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
ปีงบประมาณ
2547
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
1 ปี
งบประมาณ
0 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
ไม่ระบุ
สถานะของผู้ประสานงาน
ไม่ระบุ
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
สุกร, อาชีพเสริม, การเลี้ยงสัตว์, อำเภอสะบ้าย้อยจ
บทคัดย่อ
การวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยีครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธฺภาพการผลิตสุกรพื้นเมือง ในการเลี้ยงเป็นอาชีพเสริมของเกษตรกร โดยมีพื้นที่เป้าหมายคือ อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา การดำเนินโครงการแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ การวิจัย และการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน จากการศึกษาระบบเกษตรนิเวศน์ของพื้นที่เป้าหมาย คือ ตำบลคูหา และตำบลเขาแดง อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา พบว่า สภาพระบบเกษตรนิเวศน์ ของตำบลทั้งสองยังเหมาะกับการเกษตร ด้านการทำสวนผลไม้ ยางพารา และการเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากมีป่าไม้ และป่าต้นน้ำตลอดจนสภาพดินที่อุดมสมบูรณ์ จึงถือเป็นจุดแข็งของตำบล ประชากรส่วนใหญ่มีวิธีการดำรงชีวิตอย่างเรียบง่าย และคงความเป้นชนบทอยู่ อาชีพหลักของประชากรส่วนใหญ่คือการทำสวนยางพารา และสวนผลไม้เป็นหลัก อย่างไรก็ตามการเลี้ยงสัตว์ จัดเป็นอาชีพรองของประชากรในหมู่บ้าน แต่การเลี้ยงสุกรพื้นเมืองมีจำนวนผู้เลี้ยงในปัจจุบันลดลงมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ โดยเหตุผลหลักของกลุ่มที่เคยเลี้ยง คือ สุกรพื้นเมืองโตช้า ส่วผู้ที่ยังดำเนินการเลี้ยงสุกรพื้นเมืองอยู่ จะเลี้ยงสุกรพ่อแม่พันธ์วรมทั้งขุนลูกสุกรที่ผลิตได้เป็นส่วนใหญ่ มีบางส่วนที่เลี้ยงพ่อแม่พันธ์ เพื่อผลิตลูกสุกรขายให้กับผู้อื่นเพื่อขุนขายต่อไป
จากการศึกษาวิจัยถึงรูปแบบการเลี้ยงที่เหมาะสม 3 รูปแบบ ประกอบด้วย การเลี้ยงในโรงเรือนปูนซีเมนต์ การเลี้ยงแบบกึ่งปล่อยอิสระบนพื้นดิน และ การเลี้ยงในโรงเรือนกึ่งพื้นซีเมนต์กับพื้นดิน พบว่า สมรรถภาพการผลิตของสุกรพื้นเมืองที่ได้จากรูปแบบการเลี้ยงต่างกัน โดยให้อาหารคุณภาพดีแบบจำกัด มีผลต่อสมรรถภาพการผลิตของสุกรพื้นเมืองแตกต่างกันไม่เด่นชัดมากนัก แต่การนำรูปแบบการเลี้ยงแบบกึ่งปล่อยอิสระบนพื้นดิน ซึ่งเป็นสภาพที่ใกล้เคียงกับความเป็นอยู่ของสุกรพื้นเมืองเข้ามาใช้ในการจัดการเลี้ยงดูสุกรพื้นเมือง นอกจากจะมีต้นทุนต่ำในการกั้นพื้นที่แล้ว ยังเป็นการให้สัตว์สามารถแสดงออกของพฤติกรรมได้อย่างเต็มที่ ทำให้สัตว์ไม่เครียด
ผลเสริมบอระเพ็ดบดผงในระดับ 0 และ 0.3 เปอร์เซ็นต์ ในสภาพการเลี้ยงแบบกึ่งปล่อยอิสระบนพื้นดิน และการเลี้ยงในโรงเรือนพื้นซีเมนต์ ต่อสมรรถภาพการผลิตสุกรพื้นเมือง ซึ่งจัดปัจจัยในการทดลองแบบ 2x2 แฟกตอเรียลในแผนการทดลองสุ่มตลอด (2x2 Factorial in completely randomized design) โดยมี 4 ทรีตเมนต์ร่วม ๆ ละ 4 ซ้ำ แต่ละซ้ำมีสุกรพื้นเมืองคละเพศจำนวน 3 ตัวน้ำหนักต่อตัวเฉลี่ย ประมาณ 5 กิโลกรัม ให้อาหารทดลองแบบจำกัดปริมาณ ระยะเวลาการทดลอง 12 สัปดาห์ ผลการทดลองพบว่า อัตราการเจริญเติบโตของสุกรพื้นเมืองที่เลี้ยงแบบกึ่งปล่อยอิสระบนพื้นดินได้รับอาหารเสริมบอระเพ็ด มีค่าเฉลี่ยสุงกว่าการเลี้ยงในโรงเรือนพื้นซีเมนต์ที่ได้รับอาหารเสริมบอระเพ็ดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ขณะที่การเสริมและไม่เสริมบอระเพ็ด ในสภาพการเลี้ยงแบบกึ่งปล่อยอิสระบนพื้นดินและโรงเรือนพื้นซีเมนต์ ไม่ได้ทำให้สมรรถภาพการผลิตของสุกรพื้นเมืองในด้านอื่น ๆ มีค่าเฉลี่ยแตกต่างกัน (P>0.05) ส่วนด้านเปอร์เซ็นต์ซากของสุกร มีแนวโน้มว่าสุกรที่ได้รับบอระเพ็ดในสูตรอาหารทั้งสองรูปแบบการเลี้ยงมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับบอระเพ็ด
จากผลดำเนินการอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่เกษตรกรและผู้สนใจ ผลการประเมินการฝึกอบรมปรากฏว่า ผู้เข้ารับการอบรมมีความพอใจมาก ต่อระยะเวลาในการฝึกอบรม ความรุ้ที่ได้รับจากการฝึกอบรม เรื่องที่รับการฝึกอบรมตรงกับความต้องการ สถานที่การฝึกอบรม และ การเยี่ยมชมสถานที่วิจัย (3.18, 3.59, 3.8, 3.45, และ 3.59 คะแนน จากคะแนนเต็ม 4 คะแนน ตามลำดับ) และจากการติดตามผลหลังจากฝึกอบรม พบว่า มีผู้สนใจเริ่มกลับมาเลี้ยงสุกรพื้นเมือง รวมทั้งผู้ที่เลี้ยงอยู่แล้วก็ยังคงดำเนินกิจกรรมอยู่ต่อไป
Fulltext
ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU