ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย การพยากรณ์ราคาข้าวขาว 5%
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ White Rice 5% (BWR5) Price Forecasting

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการนาย จตุรภัทร จันทร์ทิตย์

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย งบวิจัยคณะ (เงินบำรุงการศึกษา)
สาขาการวิจัย สาขาเศรษฐศาสตร์
ปีงบประมาณ 2552
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 1 ปี
งบประมาณ 0 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ ไม่ระบุ
สถานะของผู้ประสานงาน ไม่ระบุ
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ ราคาข้าว, ข้าวขาว, สถิติ การพยากรณ์
บทคัดย่อ        การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ  ซึ่งได้ศึกษาเพื่อหาวิธีการพยากรณ์ทางสถิติที่เหมาะสมสำหรับราคาข้าวขาว 5%  ภายในประเทศ  เพืทอได้สมการการพยากรณ์ที่เหมาะสม  โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลตาอการพยากรณ์ราคาข้าวขาว 5% รายวัน  2) เพื่อพยากรณ์ราคาข้าวขาว 5% รายวัน และ   3) เพื่อเลือกแบบจำลองที่เหมาะสมสำหรับการพยากรณ์ราคาข้าวขาว 5% รายวัน  โดยในการวิจัยใช้ข้อมูลทุตยภูมิในลักษณะอนุกรมเวลา  ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีการเผยแพร่ในเว็บไซต์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ทำการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเปรียบเทียบระหว่างความสัมพันธ์ในลักษณะเส้นตรงและไม่เป็นเส้นตรงเพื่อหารูปแบบความสัมพันธ์ที่เหมาะสมในการพยากรณ์  โดยในการเลือกและการนำเสนอผลการวิจัยได้คำนึงถึงมาตรฐานทางด้านสถิติ  มาตรฐาน
ทางด้านเศรษฐศาสตร์  และมาตรฐานทางด้านเศรษฐมิติ
      
       จากการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า  ในการพยากรณ์ราคาข้าวขาว 5% มีปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาข้าวขาว 5% จำนวน 6 ประเภท ได้แก่  ราคาข้าวขาว 5% ก่อนหน้า 1 วัน  อัตราแลกเปลี่ยน  อัตราดอกเบี้ย
(เงินกู้) ราคาน้ำมันดีเซลภายในประเทศ  ราคาข้าวขาว 5% ในตลาดล่วงหน้า 1-5 เดือน  ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และฤดูกาล

       จากการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณในครั้งแรกของทั้ง 2 แบบจำลอง  คือแบบจำลองเส้นตรง  และแบบจำลองที่ไม่เป็นเส้นตรง  พบว่า เกิดปัญหาค่าความคาดเคลือนมีความสัมพันธ์กัน  ผู้วิจัยจึงได้เพิ่มตัวแปรราคาข้าวขาว 5% ก่อนหน้า 1 วันเข้าไปในแบบจำลองทั้ง 2 และทำการวิเคราะห์ใหม่  และจากการวิเคราะห์ซ้ำพบว่ามีปัจจัยหลายตัวที่ไม่มีความสัมพันธ์หรือไม่มีอำนาจในการพยากรณ์ตัวแปรอิสระได้  ดังนั้นผู้วิจัยจึงทำการตัดตัวแปรอิสระดังกล่าวออกไปและทำการวิเคราะห์แบบจำลองทั้ง 2 ซ้ำเรื่อยๆ จนเหลือเฉพาะตัวแปรอิสระที่มีความสัมพันธ์กับตัวแปรตามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทุกตัว  โดยทำการวิเคราะห์แบบจำลองที่ 1 จำนวน 4 ครั้ง  และทำการวิเคราะห์แบบจำลองที่ 2 จำนวน 4 ครั้ง  และพิจารณาเลือกแบบจำลองที่เหมาะสมตามมาตรฐานทางเศรษฐศาสตร์ สถิติ เศรษฐมิติ และความแม่นยำในการพยากรณ์พบว่า  แบบจำลองที่ 1 (Model 4) มีความเหมาะสมที่สุดโดยมีสมการพยากรณ์คือ

PRt  =  0.210469 + 0.997767*PRt-1

       โดยที่ราคาข้าวขาว 5% ของวันก่อนหน้า PRt-1 มีอิทธิพลต่อการพยากรณ์ราคาข้าวขาว 5% รายวัน  ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและเป็นไปในเชิงบวก  และจากผลการวิจัยที่ได้แบบจำลองที่สามารถพยากรณ์ราคาข้าวขาว 5% รายวัน  ได้แม่นยำถึงร้อยละ 96.3569  ซึ่งผลการศึกษานี้ควรจัดส่งข้อมูลและผลการพยากรณ์ไปยังสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร  กรมการข้าว  และกรมส่งเสริมการเกษตร  เพื่อให้หน่วยงานดังกล่าวนำข้อมูลไปเผยแพร่และช่วยสนับสนุนการวางแผนการตัดสินใจในการผลิตข้าวของเกษตกรต่อไป



Fulltext ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU