ชื่อบทความ | การลดความสูญเสียจากการเคลื่อนไหวในการหั่นหน่อไม้ |
---|---|
ประเภทการตีพิมพ์ | ประชุมวิชาการระดับชาติ |
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร | การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 15 ประจำปีการศึกษา 2567 |
ผู้แต่ง |
จิระศักดิ์ ดีใจ ตรี จันทรนิยม ซคฮิม นวน ชวนันท์ เนียมแหลม ศรีวรรณ ขำตรี วีรชัย มัฎฐารักษ์ |
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ | 28 ก.พ. 2568 |
ปีที่ | - |
ฉบับที่ | - |
หมายเลขหน้า | AO 34-43 |
ลักษณะบทความ | |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเคลื่อนไหวโดยวิธีประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในการหั่นหน่อไม้ โดยใช้แรงงานคนและการใช้เครื่องหั่นหน่อไม้ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการเพิ่มผลผลิตการหั่นหน่อไม้โดยใช้แรงงานคน และการใช้เครื่องหั่นหน่อไม้ โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัย คือ ประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ของการหั่นหน่อไม้ ด้วยวิธี RURA และ REBA โดยการใช้แรงงานคนและการใช้เครื่องหั่นหน่อไม้ และมีการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการหั่นหน่อไม้ ผลการวิจัย พบว่า การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ด้วยวิธี RULA ของการใช้แรงงานคน Final Score เท่ากับ 6 คะแนน หมายความว่า มีปัญหาทางการยศาสตร์ที่ต้องได้รับการปรับปรุงโดยเร็ว และการใช้เครื่องหั่นหน่อไม้ Final Score เท่ากับ 3 คะแนน หมายความว่า ควรศึกษาเพิ่มเติมและติดตามวัดผลอย่างต่อเนื่องอาจจะต้องมีการออกแบบงานใหม่ นอกจากนี้ ผลการประเมิน ความเสี่ยงทางการยศาสตร์ด้วยวิธี REBA ของการใช้แรงงานคน พบว่า Final Score เท่ากับ 8 คะแนน หมายความว่า มีความเสี่ยงสูง ควรได้รับการตรวจสอบและดำเนินการเปลี่ยนแปลง และการใช้เครื่องหั่นหน่อไม้ final Score เท่ากับ 2 คะแนน หมายความว่า มีความเสี่ยงน้อย เมื่อเปรียบเทียบการเพิ่มผลผลิตของการหั่นด้วยแรงงานคน พบว่า สามารถหั่นหน่อไม้ได้ 327 กรัม ต่อ 1 นาที ส่วนการหั่นหน่อไม้โดยการใช้เครื่องหั่นหน่อไม้ สามารถหั่นหน่อไม้ได้ 1,938.6 กรัม ต่อ 1 นาที ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การใช้เครื่องหั่นหน่อไม้สามารถลดปัญหาทางกายศาสตร์และสามารถเพิ่มผลผลิตจากการหั่นหน่อไม้ได้อีกด้วย |