ชื่อบทความ | การบริหารความเสี่ยงของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง |
---|---|
ประเภทการตีพิมพ์ | วารสารวิชาการระดับชาติ |
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร | วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์ |
ผู้แต่ง |
เสาวณีย์ หมื่นรักษ์ รุจิราพรรณ คงช่วย |
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ | 31 ส.ค. 2567 |
ปีที่ | 9 |
ฉบับที่ | 2 (พฤษภาคม |
หมายเลขหน้า | 2453-2468 |
ลักษณะบทความ | |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารความเสี่ยงของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง 2) เปรียบเทียบการบริหารความเสี่ยงของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามเขตพื้นที่ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน และ 3) รวบรวมข้อเสนอแนะการบริหารความเสี่ยงของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง จำนวน 254 คน โดยการสุ่มสถานศึกษา ด้วยวิธีการสุ่มแบ่งชั้นภูมิตามเขตพื้นที่การศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารความเสี่ยงของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบการบริหารความเสี่ยงของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามเขตพื้นที่ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน และ 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง ตามความคิดเห็นของครูได้แก่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากร นักเรียน ผู้ปกครอง และรวมไปถึงบุคคลภายนอกทุกภาคส่วนควรมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นการจัดทำแผนกลยุทธ์มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายตามคำสั่งปฏิบัติงานอย่างชัดเจนสอดคล้องกับความรู้และความสามารถ ควรมี การตรวจสอบการจัดทำเอกสาร ให้เป็นไปตามระเบียบตามขั้นตอน จัดทำแนวทางการปฏิบัติงานตามมาตรการ ระเบียบ และข้อบังคับ |