ชื่อบทความ | การศึกษาสภาพการดำเนินงานการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยเทคนิคพัทลุง |
---|---|
ประเภทการตีพิมพ์ | วารสารวิชาการระดับชาติ |
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร | วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์ |
ผู้แต่ง |
อาทินี บุญวงศ์ รุจิราพรรณ คงช่วย |
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ | 31 ส.ค. 2567 |
ปีที่ | 9 |
ฉบับที่ | 2 (พฤษภาคม |
หมายเลขหน้า | 1113-1126 |
ลักษณะบทความ | |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยเทคนิคพัทลุง 2) เปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยเทคนิคพัทลุง จำแนกตามสถานภาพ ประสบการณ์ทำงานทวิภาคี และสาขาวิชา 3) รวบรวมปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยเทคนิคพัทลุง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในวิทยาลัยเทคนิคพัทลุง จำนวน 125 คน และผู้แทนสถานประกอบการ จำนวน 56 คน รวมกลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้น 181 คน โดยใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสถานภาพของครูและผู้แทนสถานประกอบการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพการดำเนินงานการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยเทคนิคพัทลุง โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. การเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยเทคนิคพัทลุง ตามความคิดเห็นของครูและผู้แทนสถานประกอบการที่มีประสบการณ์ทำงานทวิภาคีต่างกัน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน สถานภาพและสาขาวิชาที่แตกต่างกัน โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 3. ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยเทคนิคพัทลุง ตามความคิดเห็นของครูและผู้แทนสถานประกอบการ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควรกำหนดแผนงาน สำรวจความต้องการของตลาดแรงงาน ประชุมหารือในการจัดสรรงบประมาณ ควรปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะะให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษา จัดหาสื่อการเรียนการสอนที่เน้นนวัตกรรมในการฝึกอาชีพ ส่งเสริมทักษะให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ สร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชนให้มากขึ้น โดยใช้กลยุทธ์เชิงรุกและวางแผนระยะยาว |