รายละเอียดข้อมูลการตีพิมพ์เผยแพร่

ชื่อบทความ การพัฒนาชุดยืนเครื่องในการแสดงนาฏศิลป์ไทย
ประเภทการตีพิมพ์ วารสารวิชาการระดับชาติ
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
ผู้แต่ง กำธร เกิดทิพย์
จรรย์สมร ผลบุญ
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ 28 มี.ค. 2565
ปีที่ 10
ฉบับที่ 1
หมายเลขหน้า 203-225
ลักษณะบทความ
Abstract การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยใช้วิธีการแบบผสมระหว่างวิธีการเชิงคุณภาพและวิธีการเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนากระบวนการประดิษฐ์ชุดยืนเครื่องลำลองเพื่อลดต้นทุนในการผลิต ผลการวิจัย พบว่า การทำชุดยืนเครื่องรูปแบบดั้งเดิมทำโดยการลอกลายบนผ้า ใช้ดิ้นโปร่งดิ้นขอปักบนลวดลายโดยใช้เวลานานนับเดือนต่อ 1 ชุดการแสดง และต้นทุนสูง ส่วนการพัฒนาครั้งนี้กระทำโดย 1) วิเคราะห์ชิ้นส่วนต่างๆของชุด เพื่อวาง
แพทเทิร์นตามขนาดจริงมีการกำหนดเส้นขอบไว้สำหรับการเย็บและทำเส้นประเพื่อตัดชิ้นผ้า 2)ออกแบบลวดลายลงบนแพทเทิร์นให้สวยงาม 3) นำรูปแบบที่ได้ไปปรินต์ดิจิทัลลงบนผ้าโดยใช้ผ้าเครปซาตินที่น้ำหนักเบาและสีที่ปรินต์มีความมันวาว 4) ตัดเย็บตามแบบแพทเทิร์นและตกแต่งลวดลายใช้กระบวนการตัดขอบของลวดลายด้วยสีลอยเป็นสีสกรีนผ้า ปิดทับด้วยทองคำเปลว ส่วนด้านในของลวดลายผู้วิจัยเลือกใช้กากเพชรสำหรับงานผ้าเพื่อสร้างความแวววาว ผลการประเมิน 3 ด้าน คือ การออกแบบ การใช้งานชุดยืนเครื่อง และ ประโยชน์โดยรวมของการใช้งานจากกลุ่มผู้ใช้งานจริง และบุคคลที่เกี่ยวข้อง จำนวน 150 คน พบว่าทุกด้านมีค่าระดับความพึงพอใจมากที่สุด โดยภาพรวมมีค่าคะแนนเฉลี่ย 4.70 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50 อยู่ในระดับคะแนนมากที่สุด