รายละเอียดข้อมูลการตีพิมพ์เผยแพร่

ชื่อบทความ การเพิ่มศักยภาพในการผลิตก๊าซมีเทนจากเส้นใยปาล์มโดยการปรับสภาพด้วยเอทานอล
ประเภทการตีพิมพ์ วารสารวิชาการระดับชาติ
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร Life Science and Environment Journal
ผู้แต่ง สุชีวรรณ ยอยรู้รอบ
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ 2 ก.ย. 2564
ปีที่ 22
ฉบับที่ 2
หมายเลขหน้า 308-319
ลักษณะบทความ
Abstract เส้นใยปาล์มเป็นชีวมวลลิกโนเซลลูโลสที่น่าสนใจ แต่มีข้อจำกัดที่มีลิกนินเป็นองค์ประกอบ
ทำให้การย่อยสลายในสภาวะไร้อากาศเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพได้ยาก งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา
การเพิ่มศักยภาพในการผลิตผลิตก๊าซมีเทนจากเส้นใยปาล์มที่ผ่านการปรับสภาพด้วยเอทานอล ร้อยละ 10, 30 และ 50 ควบคุมอุณหภูมิ 190 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที ผลการศึกษาพบว่า ความเข้มข้นของเอทานอลที่เหมาะสมในการปรับสภาพเส้นใยปาล์มเพื่อผลิตก๊าซมีเทน คือ ร้อยละ 50 เนื่องจากลิกนินสามารถละลายในเอทานอลได้ดี ทำให้โครงสร้างของเส้นใยปาล์มที่ผ่านการปรับสภาพอยู่สภาวะที่เหมาะสมต่อการหมัก ที่สภาวะดังกล่าวมีศักยภาพในการผลิตก๊าซมีเทนสูงสุด เท่ากับ 161.8+6.2 L CH4/kgVS ซึ่งสามารถผลิตก๊าซมีเทนได้สูงกว่าเส้นใยปาล์มที่ไม่ปรับสภาพถึงร้อยละ 52.2 สามารถเพิ่มศักยภาพ
ในการผลิตก๊าซมีเทนได้ถึง 2.1 เท่า นอกจากนี้การแยกลิกนินออกจากของเหลวจากกระบวนการปรับสภาพ เพื่อผลิตสารมูลค่าสูง และการกลั่นเอทานอลกลับมาใช้ใหม่ เป็นแนวทางการเพิ่มมูลค่าเส้นใยปาล์ม
ลดของเสียและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น