รายละเอียดข้อมูลการตีพิมพ์เผยแพร่

ชื่อบทความ ผลการใช้วิธีการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับเกมที่มีต่อความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอาหรับของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนอะมาดิยะห์มูลนิธิ จังหวัดพัทลุง
ประเภทการตีพิมพ์ ประชุมวิชาการระดับชาติ
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ หัวข้อเรื่อง หลักสูตรและการสอนในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง.
ผู้แต่ง อารอฝะ ปูตีล่า
จุไรศิริ ชูรักษ์
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ 24 ม.ค. 2564
ปีที่ 1
ฉบับที่ 1
หมายเลขหน้า 21-31
ลักษณะบทความ บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการเรียนรู้ค าศัพท์ภาษา
อาหรับเรื่องمدرستناก่อนและหลังเรียนโดยใช้วิธีการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ร่วมกับเกม ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนอะมาดิยะห์มูลนิธิ จังหวัดพัทลุง 2) เปรียบเทียบความสามารถในการเรียนรู้ค าศัพท์
ภาษาอาหรับเรื่อง مدرستناหลังเรียนโดยใช้วิธีการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับเกม ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนอะมาดิยะห์มูลนิธิ จังหวัดพัทลุง กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของ
นักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับเกมกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนอะมาดิยะห์มูลนิธิ จังหวัดพัทลุง จ านวน 25 คน
ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จ านวน 4 แผน 2)
แบบทดสอบวัดความสามารถในการเรียนรู้ค าศัพท์ภาษาอาหรับ จ านวน 1 ฉบับ และ 3) แบบสัมภาษณ์ความคิด
เห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้วิธีการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับเกม จ านวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์
ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และสถิติการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการเรียนรู้ค าศัพท์ภาษาอาหรับเรื่องمدرستناของนักเรียนหลังการ
จัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับเกม สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ
.05 2) ความสามารถในการเรียนรู้ค าศัพท์ภาษาอาหรับเรื่องمدرستناของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้
วิธีการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับเกม มีคะแนนเฉลี่ยรวมร้อยละ 76.90 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมี
นัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความคิดเห็นของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนภาษา
เพื่อการสื่อสาร (2w3p) ร่วมกับเกมพบว่านักเรียนมีความคิดเห็นทางบวก
ค าส าคัญ: วิธีการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร, เกม, ความสามารถในการเรียนรู้ค าศัพท์ภาษาอาหรับ,ความคิดเห็น