ชื่อบทความ | ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบซิปปาร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง อุปสงค์ อุปทาน ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนตะโหมด จังหวัดพัทลุง |
---|---|
ประเภทการตีพิมพ์ | ประชุมวิชาการระดับชาติ |
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร | รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ หัวข้อเรื่อง หลักสูตรและการสอนในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง. วันที่ 24 มกราคม 2564 มหาวิทยาลัยทักษิณ. |
ผู้แต่ง |
บุษรินทร์ ด้วงแก้ว จุไรศิริ ชูรักษ์ เพ็ญพักตร นภากุล |
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ | 24 ม.ค. 2564 |
ปีที่ | 1 |
ฉบับที่ | 1 |
หมายเลขหน้า | 110-117 |
ลักษณะบทความ | บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ระบบเศรษฐกิจ ก่อน และหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้ผังกราฟิก2)เพื่อ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องระบบเศรษฐกิจหลังใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้ผังกราฟิกสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 603)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนตะโหมด จังหวัดพัทลุง ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้ผังกราฟิก กลุ่มเปูาหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนตะโหมด จังหวัดพัทลุง จ านวน 40 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง ( Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้ผังกราฟิก เรื่อง ระบบเศรษฐกิจ2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มี ต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้ผังกราฟิกวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์หาค่าร้อย ละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังการจัดการ เรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้ผังกราฟิกสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้โดยมีคะแนนก่อนการจัดการ เรียนรู้คิดเป็นร้อยละ 49.25 และหลังการจัดการเรียนรู้คิดเป็นร้อยละ 69.65คะแนนร้อยละหลังการจัดการเรียนรู้ เพิ่มขึ้น 20.40, 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้ผัง กราฟิกคิดเป็นร้อยละ 69.65 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการ เรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้ผังกราฟิกอยู่ในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.32 ค าส าคัญ: การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD, ผังกราฟิก, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความพึงพอใจ |