รายละเอียดข้อมูลการตีพิมพ์เผยแพร่

ชื่อบทความ การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เรื่องของเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 2
ประเภทการตีพิมพ์ ประชุมวิชาการระดับชาติ
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ หัวข้อเรื่อง หลักสูตรและการสอนในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง.
ผู้แต่ง สุวนันท์ ทองสุข
เพ็ญพักตร นภากุล
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ 24 ม.ค. 2564
ปีที่ 1
ฉบับที่ 1
หมายเลขหน้า 207-213
ลักษณะบทความ บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
Abstract การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์
เรื่องของเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น หลังใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดบ่อแดง อ าเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา กับเกณฑ์ร้อยละ 80 2) เพื่อเปรียบเทียบ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องของเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น ก่อนและหลังเรียนโดยใช้วิธีการจัดการ
เรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดบ่อแดง อ าเภอสทิงพระ จังหวัด
สงขลา และ 3) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อวิธีการจัดการเรียนรู้
ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 ปี
การศึกษา 2563โรงเรียนวัดบ่อแดง อ าเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย
1)แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องของเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 22)
ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่องของเล่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น 4) แบบสอบถามวัดระดับความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูล ท าได้โดยการวิเคราะห์หาค่าร้อย
ละ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) หลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม
วิทยาศาสตร์ นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยรวมสูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 80 เมื่อพิจารณาคะแนนเป็นรายบุคคลพบว่า
นักเรียนมีคะแนนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 จ านวน 8 คน และไม่มีนักเรียนที่ได้คะแนนต่ ากว่าเกณฑ์ร้อยละ 80
2) ก่อนเรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์นักเรียนท าคะแนนสูงสุดได้ 9คะแนน คะแนนต่ าสุด 6คะแนน คะแนน
เฉลี่ย ( ) เท่ากับ 7.63คะแนนและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) เท่ากับ 0.99 และหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรม
วิทยาศาสตร์ นักเรียนท าคะแนนสูงสุดได้ 18 คะแนน คะแนนต่ าสุด 16คะแนน คะแนนเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 17.38
คะแนน และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) เท่ากับ 0.69 แสดงให้เห็นว่าหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 3) ระดับความพึงพอใจของนักเรียนโดยภาพรวมนักเรียนมีความ
พึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบใช้เกมการศึกษา อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16
ค าส าคัญ: ของเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น, ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์