รายละเอียดข้อมูลการตีพิมพ์เผยแพร่
ชื่อบทความ |
PAT 7.4: พลิกอีกด้านของเหรียญ |
ประเภทการตีพิมพ์ |
ประชุมวิชาการระดับชาติ |
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร |
การประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ระดับชาติ ครั้งที่ 3 |
ผู้แต่ง |
สุดารัตน์ วงศ์กระจ่าง
|
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ |
2 ก.ย. 2564 |
ปีที่ |
- |
ฉบับที่ |
- |
หมายเลขหน้า |
105-116 |
ลักษณะบทความ |
|
Abstract |
บทความนี้อธิบายถึงลักษณะเฉพาะของข้อสอบความถนัดทางภาษาจีน PAT 7.4 ซึ่งใช้เพื่อพยากรณ์ความสามารถทางภาษาและความสามารถในการศึกษาต่อ เนื้อหาข้อสอบจะครอบคลุมความรู้ทุกด้านและลงในระดับลึกเกี่ยวกับภาษาจีนและประเทศจีน ข้อสอบ PAT 7.4 ยังใช้ในการคัดเลือกบุคคลเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัย โดยมีสัดส่วนค่าน้ำหนักอยู่ที่ 20-30% คำถามของข้อสอบคัดเลือกจะครอบคลุมความรู้ทางภาษาในวงกว้างและมีระดับความยากค่อนข้างสูง จากการที่ PAT 7.4 เป็นข้อสอบวัดความถนัดและใช้คัดเลือก เมื่อเปรียบเทียบข้อสอบ PAT 7.4 กับ ข้อสอบ HSK แล้ว ทั้งสองจึงแตกต่างกัน หากครูและนักเรียนเข้าใจลักษณะเฉพาะของข้อสอบ PAT 7.4 จะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนการเรียนการสอน ผู้เรียนจะต้องมุ่งมั่น ทุ่มเทตั้งแต่เริ่มต้นการเรียนภาษาจีน หมั่นฝึกฝนทักษะภาษาจนสามารถใช้งานกับกิจกรรมประจำวันตามวิถีชีวิตในปริบทปัจจุบัน ส่วนครูผู้สอนควรนำพฤติกรรมทางการศึกษาของ Bloom มาบูรณาการกับกิจกรรมการสอน กิจกรรมเสริมเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียน และการสร้างแบบทดสอบ การรับมือ PAT 7.4 อย่างมีประสิทธิผล ผู้บริหารโรงเรียนจะต้องมีนโยบายที่ชัดเจนทั้งด้านการจัดหาจำนวนครูภาษาจีนให้เพียงพอ รวมทั้งการกำหนดเกณฑ์การรับครูอาสาสมัครชาวจีน
|