ชื่อบทความ | การศึกษาพฤติกรรมล้าจากการอบอ่อนของเหล็กกล้าคาร์บอน เกรด AISI 1050 ที่ผ่านการเชื่อมด้วยวิธีแก๊สปกคลุม |
---|---|
ประเภทการตีพิมพ์ | วารสารวิชาการระดับชาติ |
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร | วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี / มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
ผู้แต่ง |
นิพนธ์ มณีโชติ นิพนธ์ มณีโชติ |
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ | 30 เม.ย. 2564 |
ปีที่ | 40 |
ฉบับที่ | 2 |
หมายเลขหน้า | 164-172 |
ลักษณะบทความ | |
Abstract | บทคัดย่อ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ศึกษาอิทธิพลของอุณหภูมิอบอ่อนที่ส่งผลต่อความล้าของเหล็กกล้าคาร์บอน เกรด AISI 1050 จากชิ้นส่วนเพลาที่ผ่านการเชื่อมด้วยวิธีแก๊สปกคลุม ตัวแปรคงที่ในการเชื่อมด้วยกระบวนการเชื่อมแก๊สปกคลุมที่ตัวแปร คือ กระแสไฟฟ้าเชื่อม 130 แอมแปร์ ลวดเชื่อมชนิด ER70S-6 ความเร็วเดินเชื่อม 250 มิลลิเมตรต่อนาที ชิ้นงานเชื่อมให้ความร้อนก่อนการเชื่อมที่อุณหภูมิ 300 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที หลังจากการเชื่อมจะอบอ่อนชิ้นงานที่อุณหภูมิ 700, 800 และ 900 องศาเซลเซียส ตามลำดับ ซึ่งถูกกำหนดเป็นตัวแปรตาม ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าอุณหภูมิอบอ่อนชิ้นงานหลังการเชื่อมส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโครงจุลภาคบริเวณรอยเชื่อมและบริเวณอิทธิพลทางความร้อน อุณหภูมิอบอ่อนชิ้นงานที่สูงส่งผลให้ขนาดของเกรนโตขึ้น พบว่าอุณหภูมิอบอ่อน 900 องศาเซลเซียส บริเวณรอยเชื่อมมีขนาดความโตของเกรนเฉลี่ย 22.43 ไมโครเมตร และบริเวณอิทธิพลจากความร้อนขนาดของเกรนโตขึ้น มีขนาดเกรนเฉลี่ย 254.41 ไมโครเมตร นอกจากนั้นเฟสเฟอร์ไรต์และเพิร์ลไลต์ผสมด้วยกัน ส่งผลให้ได้สมบัติทางด้านความเหนียวและแข็งแรงที่ดี สำหรับการทดสอบความล้าพบว่าความเค้นทดสอบที่ 100 MPa ของชิ้นงานที่ผ่านการอบอ่อนที่ 900 องศาเซลเซียส สามารถรับความล้าก่อนชิ้นงานเกิดการเสียหายที่ 235,780 รอบ อายุการล้าเพิ่มขึ้น 53.40 เปอร์เซ็นต์ คำสำคัญ: กระบวนการเชื่อมแก๊สปกคลุม เหล็กกล้าคาร์บอน เกรด AISI 1050 ความล้า การอบอ่อน |