ชื่อบทความ | การพัฒนารูปแบบการจัดบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมสำหรับผู้สูงวัยมุสลิม ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลปากพะยูน อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง |
---|---|
ประเภทการตีพิมพ์ | ประชุมวิชาการระดับชาติ |
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร | การประชุมวิชาการวิจัยและนวัตกรรสร้างสรรค์ ครั้งที่ 6 มหาวิทยาลัยราชมงคลเทคโนโลยีล้านนา |
ผู้แต่ง |
วรพล หนูนุ่น |
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ | 2 ก.ย. 2563 |
ปีที่ | 1 |
ฉบับที่ | 1 |
หมายเลขหน้า | 390-403 |
ลักษณะบทความ | บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ |
Abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมสำหรับผู้สูงวัยมุสลิมในตำบล ปากพะยูน อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผู้ให้ ข้อมูลคือ ตัวแทนผู้รับบริการและผู้ให้บริการสาธารณสุขที่เป็นสวนหนึ่งของกลุ่มประชากรที่ทำการศึกษา ซึ่งจะเปนผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 70 คน ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ใช้เครื่องมือสำหรับผู้วิจัยและเครื่องมือที่เป็นอุปกรณ์เทคโนโลยี ใช้วิธีการเก็บรวบรวม ข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกต และศึกษาเอกสารตำราที่เกี่ยวข้อง โดยการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การ วิเคราะห์แบบอุปนัย ที่มีดำเนินการควบคุมคุณภาพของข้อมูล ใช้การตรวจสอบสามเส้าหลายวิธีตามสภาพและความจำเพาะของ ข้อมูล เช่น จากแหล่งของข้อมูล จากแนวคิด/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง จากผู้วิจัยและจากการตรวจสอบด้านระเบียบวิธี ผลการวิจัยพบว่า ผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ประกอบด้วย ผู้สูงวัยมุสลิมที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อย ละ 51.4 และผู้ให้ข้อมูลหลักทั่วไปประกอบด้วย ผู้ดูแลผู้สูงวัยมุสลิม บุคลากรสาธารณสุข ผู้นำศาสนา อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 48.6 ทั้งนี้ผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ พบว่า มีอายุระหว่าง 60 65 ปี คิดเป็นร้อยละ 27.8 ส่วน ใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 66.7 และกลุ่มเป้าหมายทุกคนมีประสบการณ์ในการเข้ารับบริการสุขภาพของหน่วยบริการศูนย์ สุขภาพชุมชน ทั้งนี้พบว่า แนวทางของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ได้ออกแบบเพื่อพัฒนาเป็นกรอบแนวคิดของการวิจัย สรุปได้เป็น 4 วงจร คือ วงจรที่ 1 การเตรียมความพร้อมและวางแผน วงจรที่ 2 การปฏิบัติการตามแผน วงจรที่ 3 การประเมินและ ตรวจสอบ และวงจรที่ 4 การปรับปรุงและข้อเสนอแนะ อีกทั้งผลในการพัฒนารูปแบบการจัดบริการสุขภาพฯพบว่า ผู้สูงวัยมุสลิมมี ความรู้ ความตระหนักในการเข้ารับบริการสุขภาพอันจำเป็น และเข้าถึงบริการสุขภาพจากที่ได้รับการประชาสัมพันธ์จากผู้นำมัสยิด อย่างทั่วถึง และบุคลากรสาธารณสุขมีความเข้าใจ วิถีชีวิตของผู้ใช้บริการที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม สามารถให้บริการที่ สอดคล้องกับวัฒนธรรมสำหรับผู้สูงวัยมุสลิม |