รายละเอียดข้อมูลการตีพิมพ์เผยแพร่

ชื่อบทความ การรับรู้ต่อการจัดบริการและประสบการณ์การใช้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิสำหรับผู้สูงอายุในตำบลทุ่งหวัง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
ประเภทการตีพิมพ์ ประชุมวิชาการระดับชาติ
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร รายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceeding) การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ราชภัฎวิจัยครั้งที่ 6 มหาวิทยาลัย ราชภัฎจันทรเกษม
ผู้แต่ง วรพล หนูนุ่น
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ 17 ส.ค. 2563
ปีที่ 6
ฉบับที่ 3
หมายเลขหน้า 308-314
ลักษณะบทความ บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
Abstract การวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ต่อการจัดบริการและประสบการณ์การใช้บริการ
สุขภาพระดับปฐมภูมิสำหรับผู้สูงอายุ และเพ่อื ศึกษาความแตกต่างระหว่างการรบั ร้ตู ่อการจดั บรกิ ารและประสบการณ์การใช้บริการสุขภาพ
ระดับปฐมภูมิสำหรับผู้สูงอายุ สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบจากบัญชีรายชือผู้สูงอายุในฐานข้อมูล JHCIS จำนวน 560 คน เก็บรวบรวม
ข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุมีการรับรู้ต่อบริการ
สุขภาพระดับปฐมภูมิอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 56.6 ( X = 61.0, S.D. = 18.5) และมีประสบการณ์การใช้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ
ระดับปานกลาง ร้อยละ 73.4 ( X = 40.6, S.D. = 12.8) สำหรับความแตกต่างระหว่างการรับรู้ต่อการจัดบริการและประสบการณ์การใช้
บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิสำหรับผู้สูงอายุ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยพบว่าการรับรู้ต่อบริการ
สูงกว่าประสบการณ์การใช้บริการ 20.4 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 100) ผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาบริการสุขภาพ
แบบบูรณาการให้แก่กลุ่มวัยผู้สูงอายุ และการเพิ่มการรับรู้ในด้านข้อมูลข่าวสารสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการรับรู้ในสิทธิ์ที่ตัวเอง
ควรจะได้รับจากการใช้ประโยชน์ในบริการสุขภาพ โดยเฉพาะบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ซึ่งเน้นในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันปัญหา
สุขภาพ จะเป็นส่วนหนึ่งในการลดการเจ็บป่วยรุนแรงให้กับผู้สูงอายุ ทำให้ลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจากภาครัฐลงได้
คำสำคัญ: การรบั รู้ ประสบการณ์ บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ผู้สูงอายุ